เริ่มก้าวแรกกับการพัฒนานวัตกรรม IoT ในองค์กรอย่างง่ายดายและมั่นใจ ด้วยโซลูชันจาก Microsoft Azure และ AIS Business

ในอีก 10 ปีนับถัดจากนี้ IoT จะกลายเป็นสนามแข่งขันทางนวัตกรรมใหม่สำหรับธุรกิจองค์กรไทยและทั่วโลกที่ต่างต้องเร่งพัฒนาโซลูชันขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่มีความเฉพาะตัวในแต่ละอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ดี การพัฒนานวัตกรรมใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครคิดค้นมาก่อนนั้นย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นธุรกิจองค์กรทั่วโลกที่ได้เริ่มมีประสบการณ์กับการพัฒนาระบบ IoT มาบ้างแล้ว จึงต่างมองหาแนวทางที่จะช่วยให้การพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ในโลกของ IoT นั้นเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วที่สุด และหากนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมานั้นสามารถสร้างตลาดใหม่ขึ้นมาได้ องค์กรก็ต้องสามารถต่อยอดจากระบบเดิมเพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานจำนวนมากที่จะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

เพื่อช่วยให้ธุรกิจองค์กรไทยสามารถเร่งสร้างนวัตกรรมด้าน IoT แข่งขันกับตลาดระดับโลกได้อย่างรวดเร็ว ทาง AIS Business จึงได้จับมือกับ Microsoft นำเสนอโซลูชันทางด้านเทคโนโลยี IoT โดยเฉพาะร่วมกัน ให้ธุรกิจมุ่งเน้นกับการสร้าง Use Case ใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมของตนเอง โดยสามารถวางใจให้ AIS Business และ Microsoft นั้นช่วยดูแลในส่วนของเทคโนโลยีเบื้องหลังได้อย่างมั่นใจ

ตลาด IoT ภาคธุรกิจในไทยยังคงเติบโตท่ามกลางวิกฤต การแย่งชิงตลาดใหม่แห่งอนาคตกำลังกลายเป็นสนามรบของธุรกิจไทย

สำหรับในช่วงปี 2020 – 2021 ที่ผ่านมา ตลาด IoT สำหรับภาคธุรกิจองค์กรในประเทศไทยนั้นถือว่ามีการปรับตัวไปในทิศทางที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก โดยภาพรวมของตลาดนั้นยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องแม้จะมีวิกฤตโรคระบาดจากเชื้อไวรัส COVID-19

อย่างไรก็ดี เบื้องหลังของการเติบโตในตลาดนี้ของประเทศไทยเองก็มีประเด็นที่น่าจับตามอง เพราะ Use Case เดิมๆ ในตลาดนี้ที่เคยมีมาก่อนจะเกิดโรคระบาดนั้นกลับทรงตัวทั้งหมด แทบไม่มีการเติบโตหรือมีการเติบโตที่น้อยมาก แต่ปัจจัยที่ทำให้ภาพรวมของตลาดนี้เติบโตอย่างน่าสนใจก็คือ Use Case ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำ Digital Transformation ของภาคธุรกิจ เช่น

  • อุตสาหกรรมคมนาคมขนส่ง (Transportation & Logistics) ที่มีการเติบโตทั้งในส่วนของการทำ Fleet Management จากการที่ธุรกิจขนส่งเติบโตอย่างรวดเร็วจากกระแสของ E-Commerce และการบริหารจัดการ Cold Chain เพื่อให้ภาพของ Logistics มีความสมบูรณ์ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นกว่าในอดีต
  • อุตสาหกรรมยานยนต์ (Automotive) ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์อัจฉริยะกันมากขึ้น ทั้งในส่วนของ Telematics และ Infotainment
  • อุตสาหกรรมภาคการผลิต (Manufacturing) ที่มีการนำ IoT ไปใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูลจากอุปกรณ์ เครื่องจักร ทำให้บริหารจัดการการผลิตการควบคุมคุณภาพสินค้า การจัดการพลังงาน ลดต้นทุน และสามารถตรวจสอบแก้ไขความผิดปกติของระบบต่างๆ ได้ก่อนที่จะเกิดความเสียหายกับกระบวนการผลิต
  • อุตสาหกรรมประกัน (Insurance) ที่มีการนำเทคโนโลยี IoT เข้าไปใช้เพื่อตรวจสอบและติดตามข้อมูลของลูกค้ามากยิ่งขึ้น สำหรับการออกแบบกรมธรรม์รูปแบบใหม่ๆ
  • อุตสาหกรรมค้าปลีก (Retail) และอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีการพัฒนาตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติหรือระบบ Kiosk เพิ่มขึ้นมาในตลาดหลากหลายรูปแบบ และแพร่กระจายไปทั่วประเทศเพื่อให้เกิดการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการได้อย่างทั่วถึง

แน่นอนว่าอนาคตนับถัดจากนี้ไป ภาพของอุตสาหกรรม IoT ในภาคธุรกิจนั้นก็จะยังคงเติบโตต่อไปด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมาและสร้างตลาดใหม่ๆ ของตนเอง และนี่เองก็เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ธุรกิจองค์กรไทยต้องตื่นตัวเร่งสร้างสรรค์นวัตกรรม IoT ในแบบฉบับของตนเองขึ้นมาแข่งขันกันหลังจากนี้

ระบบตัวอย่างของการใช้ IoT ในการธุรกิจ Logistics บน Microsoft Azure เพื่อติดตามสถานะการขนส่งสินค้าในพื้นที่ต่างๆ Credit: Microsoft

3 ปัจจัยสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรม IoT – ต้องเริ่มเร็ว เห็นผลไว ต่อยอดได้

อย่างไรก็ดี สำหรับธุรกิจองค์กรหลายแห่งที่เคยมีประสบการณ์ในการพัฒนาระบบ IoT ขึ้นมาทดลองใช้งานหรือใช้งานจริงแล้ว ก็ย่อมจะพบกับอุปสรรคสำคัญร่วมกัน นั่นก็คือ ความซับซ้อนของเทคโนโลยีและความยุ่งยากในการดูแลรักษาระบบเบื้องหลัง

ในโซลูชัน IoT หนึ่งๆ นั้น จะประกอบไปด้วยทั้งอุปกรณ์ Sensor, การเชื่อมต่อเครือข่าย, การรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล และการตอบสนองแบบอัตโนมัติ ซึ่งแต่ละองค์ประกอบข้างต้นนี้ต่างก็ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีย่อยหลากหลายส่วนมารวมกัน โดยภาคธุรกิจนั้นนอกจากจะต้องออกแบบ Business Model สำหรับโซลูชัน IoT นี้ให้ดีแล้ว ก็ยังต้องคอยบริหารจัดการ Lifecycle ของเทคโนโลยีเหล่านี้ให้ดี และมีความมั่นคงปลอดภัยอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

เหตุนี้เอง ธุรกิจองค์กรจึงเห็นพ้องต้องกันว่า 3 ปัจจัยสำคัญที่จะเป็นแรงผลักดันให้โครงการด้านการพัฒนาระบบ IoT ในธุรกิจองค์กรประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนนั้น มีดังต่อไปนี้

  1. การเริ่มต้นต้องทำได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ธุรกิจองค์กรสามารถลองผิดลองถูกกับแนวคิดใหม่ๆ ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและเวลามากนัก ทำให้การเร่งสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นได้เร็ว และยังปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรไปสู่การเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมได้ง่ายขึ้น
  2. ต้องมีผลลัพธ์ที่จับต้องได้ให้เห็นชัด เพื่อให้ฝ่ายบริหาร การเงิน และธุรกิจนั้นเห็นผลของการลงทุนที่เป็นรูปธรรม รวมถึงเกิดผลกระทบในเชิงบวกต่อพนักงานภายในองค์กร
  3. ต้องสามารถต่อยอดได้ง่าย เพื่อที่ว่าหากโซลูชันใดที่พัฒนาขึ้นมานั้นกลายเป็นที่นิยมของตลาด องค์กรก็จะต้องคว้าโอกาสสำคัญนั้นเอาไว้ให้ได้ และพัฒนาเทคโนโลยีต่อยอดเพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละรายให้มากที่สุด ในขณะที่สามารถเพิ่มขยายเพื่อรองรับผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุด

จะสังเกตได้ว่า ทั้ง 3 ปัจจัยนี้ล้วนเป็นความท้าทายทางด้านเทคโนโลยีทั้งสิ้น ดังนั้นจึงเรียกได้ว่ากลยุทธ์ทางด้านเทคโนโลยีนั้นถือเป็นหัวใจสำคัญในทุกๆ โครงการด้าน IoT สำหรับภาคธุรกิจก็ว่าได้

ระบบตัวอย่างในการทำ Fleet Management บน Microsoft Azure เพื่อติดตามค่าของ Sensor ที่ติดตั้งเอาไว้บนจุดต่างๆ ของรถ Credit: Microsoft

เริ่มต้นพัฒนานวัตกรรม IoT ในองค์กร ด้วยโซลูชันจาก Microsoft Azure และ AIS Business ร่วมกัน

เมื่อเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าความท้าทายหลักๆ ของของการพัฒนานวัตกรรมด้าน IoT ในภาคธุรกิจนั้นล้วนเป็นประเด็นทางด้านเทคโนโลยี AIS Business ในฐานะของผู้นำทางด้านระบบ IoT และโครงข่าย 5G ในไทย จึงได้ร่วมมือกับ Microsoft เพื่อนำเสนอโซลูชันที่จะช่วยให้ธุรกิจองค์กรสามารถเร่งสร้างนวัตกรรม IoT ใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ในค่าใช้จ่ายที่ต่ำ และตอบโจทย์ในระยะยาวได้ ดังนี้

1. Microsoft Azure IoT Central บริการ SaaS ควบคุมและรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลจาก Sensor ได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ดเอง

Microsoft Azure IoT Central เป็นบริการ Managed IoT App Platform ในรูปแบบ Software-as-a-Service (SaaS) ที่ทาง Microsoft ได้พัฒนาระบบกึ่งสำเร็จรูปสำหรับรองรับระบบ IoT เอาไว้ เพื่อเปิดให้ธุรกิจองค์กรสามารถเชื่อมต่อ Sensor จากอุปกรณ์ IoT ของตนเองขึ้นมายังบริการ Cloud และทำการประมวลผล, วิเคราะห์ข้อมูล และแสดงผล หรือส่งข้อมูลต่อออกไปยัง Business Application อื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย ทำให้องค์กรแทบไม่ต้องเสียเวลาพัฒนา Software ในส่วนนี้ด้วยตนเองเลย

การใช้ Microsoft Azure IoT Central นี้จะช่วยให้องค์กรที่มีความชัดเจนว่าจะใช้อุปกรณ์ IoT ใดในการทำงานอยู่แล้ว สามารถเริ่มต้นใช้งานระบบได้ในเวลาเพียงไม่กี่วันเท่านั้น และเหมาะกับกรณีการใช้งานที่ไม่ซับซ้อนมากนักที่มุ่งเน้นการรวบรวม, ประมวลผล และแสดงผลข้อมูลจาก Sensor เป็นหลัก ดังนั้นหากองค์กรใดกำลังเริ่มต้นก้าวแรกกับการพัฒนาโซลูชัน IoT ของตนเอง ก็สามารถพิจารณาเลือกใช้ Microsoft Azure IoT Central ได้ทันที

2. Microsoft Azure IoT Platform พัฒนา IoT Application ที่ซับซ้อนพร้อมต่อยอดได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องดูแลระบบ IT Infrastructure เอง

สำหรับธุรกิจองค์กรที่มีความต้องการพัฒนาระบบ IoT ที่มีความเฉพาะตัวมากยิ่งขึ้น Microsoft Azure IoT Platform คือบริการ Cloud ที่จะสามารถตอบโจทย์นี้ได้เป็นอย่างดี ด้วยการที่ Microsoft นั้นได้เตรียมองค์ประกอบต่างๆ ทางด้าน IT Infrastructure สำหรับการออกแบบระบบ IoT เอาไว้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นระบบประมวลผล, ฐานข้อมูล, ระบบควบคุม IoT, ระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัย และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อให้ธุรกิจองค์กรสามารถเลือกหยิบชิ้นส่วนต่างๆ ไปใช้งาน และพัฒนา Software  ของตนเองต่อยอดบนระบบเหล่านี้ได้อย่างอิสระ

ด้วยเหตุนี้ Microsoft Azure IoT Platform จึงเหมาะกับธุรกิจที่มีทีมพัฒนา Software เป็นของตนเอง หรือเคยมีประสบการณ์พัฒนาระบบ IoT ของตนเองมาก่อนแล้วและต้องการแนวทางใหม่ที่ยืดหยุ่นกับการทำงานมากยิ่งขึ้นโดยที่ไม่ต้องพะวงเรื่องการดูแลระบบ IT Infrastructure พื้นฐานด้วยตนเอง เพื่อให้สามารถพัฒนานวัตกรรมหรือความสามารถใหม่ๆ ต่อยอดระบบได้อย่างต่อเนื่อง และรองรับลูกค้าปริมาณมากขึ้นได้ในอนาคต

3. บริการด้านเทคนิคและโครงข่ายสำหรับ Microsoft Azure โดยทีมงานวิศวกรผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business

AIS Business เองนั้นเป็นพันธมิตรที่เข้มแข็งของ Microsoft มาโดยตลอด จึงสามารถให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีของ Microsoft ได้อย่างเชี่ยวชาญ รวมถึงยังมีความร่วมมือกับ Microsoft ในแง่มุมที่หลากหลาย เพื่อช่วยให้ธุรกิจองค์กรสามารถเข้าถึงและใช้งานเทคโนโลยีจาก Microsoft ได้อย่างครบถ้วนด้วยประสิทธิภาพสูงสุด ดังนี้

  • การเป็น CSP และ LSP ของ Microsoft ทำให้สามารถนำเสนอโซลูชันได้ทั้งในลักษณะของ Cloud และ On-Premises ตอบโจทย์ Hybrid Cloud ได้เป็นอย่างดี
  • การมี Edge Node สำหรับ Microsoft Azure ในประเทศไทย และมี ExpressRoute เชื่อมต่อเครือข่ายตรงไปถึง Data Center ของ Microsoft Azure ทำให้สามารถให้บริการเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับการใช้งาน Cloud ได้
  • การมีทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญที่มี Certificate จาก Microsoft คอยให้บริการเชิงเทคนิค ทั้งการออกแบบระบบไปจนถึงการดูแลรักษาแก้ไขปัญหาการใช้งาน
  • การมีทีมดูแลด้าน Security โดยเฉพาะ ทำให้มั่นใจได้ว่าโซลูชันที่พัฒนาขึ้นมานี้จะมีความมั่นคงปลอดภัยสูง ลดความเสี่ยงและอุดช่องโหว่ต่างๆ ที่อาจถูกโจมตีจากภายนอกได้อย่างต่อเนื่อง

ด้วยโซลูชันทั้ง 3 ประการข้างต้นนี้ AIS Business และ Microsoft จึงพร้อมที่จะเป็นผู้ช่วยให้ธุรกิจองค์กรสามารถเร่งสร้างสรรค์นวัตกรรมทางด้าน IoT สำหรับภาคธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว คุ้มค่า และมั่นใจ

สนใจ Microsoft Azure และโซลูชันอื่นๆ จาก Microsoft ติดต่อ AIS Business ได้ทันที

สำหรับธุรกิจที่สนใจใช้งาน Microsoft Azure หรือโซลูชันอื่นๆ จาก Microsoft สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://business.ais.co.th/solution/microsoftazure.html หรือติดต่อตัวแทนของ AIS Business ที่ดูแลธุรกิจของท่านได้ทันที หรือติดต่อที่ [email protected]

วันที่เผยแพร่ 7 มกราคม 2565

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business