ถอดรหัส Ecosystem Economy กับภารกิจติดปีก SME จาก AIS SME

ธุรกิจ SME (Small and Medium-sized Enterprises) ถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทย ด้วยบทบาทในการสร้างงาน สร้างรายได้ การกระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น และยังเป็นเอนจิ้นสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรม ส่งเสริมและกระจายอำนาจเศรษฐกิจไปยังผู้ประกอบการขนาดเล็ก ป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาดทางธุรกิจ การเติบโตของภาค SME ยังสามารถสะท้อนถึงความก้าวหน้าของประเทศอีกด้วย

หลายคนอาจคิดว่าการระบาดของไวรัส Covid-19 ตลอดระยะเวลา 3 ปี เปรียบเสมือนคลื่นมรสุมที่ชะล้างผู้ประกอบการ SME จำนวนมากให้ตายไปกับวิกฤตินี้ แต่ความจริงก็คือแม้ผลกระทบจาก Covid-19 จะรุนแรง แต่ท่ามกลางวิกฤติยังมีคนมองเห็นโอกาส และใช้โอกาสนี้ในการสร้างธุรกิจให้เกิดขึ้นได้

หากดูสถิติจะพบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ประกอบการ SME ราว 3.18 ล้านราย เปรียบเทียบกับช่วงก่อนเกิดการระบาดซึ่งอยู่ที่ 3.1 ล้านราย นั่นหมายถึงมีบางธุรกิจที่ต้องปิดกิจการไป แต่ก็มีธุรกิจใหม่เปิดขึ้นมาทดแทน โดยแต่ละเดือนจะมีผู้ประกอบการ SME มาจดทะเบียนบริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 4,000-5,000 ราย ซึ่ง SME เหล่านี้เป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อน GDP ของประเทศถึง 34.2% (ก่อนเกิดCovid-19 อยู่ที่ 32%) และเมื่อดูที่การจ้างงานของธุรกิจ SME ไทย ก็ถือว่าไม่น้อย เพราะมีการจ้างงานมากถึง 12.61 ล้านคน เทียบกับช่วงก่อนการระบาดอยู่ที่ 12 ล้านคน

“พอดูตัวเลขทั้งการเกิดใหม่ของผู้ประกอบการ SME และตัวเลขการจ้างงาน ก็สะท้อนความจริงว่า แม้ SME ไทยจะเผชิญมรสุมลูกใหญ่ แต่ก็สามารถกลับมาได้ แถมมีแนวโน้มว่าจะแกร่งขึ้นด้วย”

หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าในปีนี้ GDP ของประเทศไทยน่าจะอยู่ที่ 3-4% โดยมีปัจจัยสนับสนุนมาจาก การที่ภาคการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัว ซึ่งจุดนี้มีความน่าสนใจตรงที่ ผู้ประกอบการ SME ส่วนใหญ่มีความเชื่อมโยงกับธุรกิจท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ธุรกิจบริการต่าง ๆ ซึ่งประเมินว่ากำลังซื้อจากนักท่องเที่ยวที่กลับมาจะทำให้ SME ไทยสามารถ Come back กลับเข้าสนามธุรกิจได้แบบสวย ๆ

ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS ให้มุมมองเกี่ยวกับสถานการณ์นี้ได้อย่างน่าสนใจ โดยมองว่า ปัจจุบันโลกธุรกิจยุคใหม่ถูกเรียกว่า “VUCA World” ซึ่งเป็นตัวย่อของคำศัพท์ 4 คำ ประกอบด้วย ความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความซับซ้อน (Complexity) และความคลุมเครือ (Ambiguity) และเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความจริงนี้ได้ สิ่งที่ผู้ประกอบการ SME ต้องคิดต่อก็คือ ท่ามกลางความไม่แน่นอนนี้ เราจะ Move on ได้อย่างไร

“หลายคนอาจมองว่าความเปลี่ยนแปลงคือความเสี่ยง แต่สถานการณ์นี้จะเป็นความเสี่ยงก็ต่อเมื่อธุรกิจไม่มีการปรับตัว”

ความท้าทายที่ผู้ประกอบการ SME กำลังเผชิญอยู่ขณะนี้ โดยหลักจะเป็นเรื่องของกำลังซื้อ (Purchasing Power)​ ที่อาจจะยังไม่ได้กลับคืนมาทั้งหมด และพฤติกรรมการจับจ่ายของลูกค้าที่มีการคิดและเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจซื้อมากขึ้น แต่ในภาพใหญ่ถือได้ว่าสถานการณ์กลับมาเป็นปกติแล้ว

จากความท้าทายนี้ส่งให้ผู้ประกอบการ SME พยายามมองหาวิธีการสร้างธุรกิจ การทำการตลาดแบบใหม่ รวมถึงการ Optimize ต้นทุนให้มีความคุ้มค่ามากขึ้น โดยผลวิจัยของ สมาคมผู้ค้าปลีกไทย (Thai Retailer Association) ในปี 2021 ระบุข้อมูลว่า ผู้ประกอบการธุรกิจกว่า 63% มีแผนที่จะยกระดับช่องทางการขายแบบออนไลน์ให้มากขึ้น ขณะที่ 40% มีแผนที่จะลดต้นทุน โดยเฉพาะต้นทุนด้านบุคลากร ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีหลายตัวที่เข้ามามีบทบาทในเรื่องเหล่านี้โดยเฉพาะ

ข้อมูลจาก AIS ระบุว่า เทคโนโลยีที่ผู้ประกอบการ SME ให้ความสนใจมีในขณะนี้ครอบคลุมใน 4 ด้านคือ

  1. Remote Work and Virtual Meeting: การประชุมทางไกลกลายเป็นเรื่องปกติสำหรับการทำธุรกิจไปแล้ว เพราะในยุคปัจจุบันต้องการการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว สามารถทำได้ทันที เนื่องจากลูกค้าสามารถเปลี่ยนใจไปซื้อคู่แข่งได้ตลอดเวลา
  2. Digital Marketing: ธุรกิจจำเป็นต้องหาแพลตฟอร์มด้าน Digital Marketing ที่ช่วยให้เข้าถึงและรู้จักลูกค้ามากขึ้น และต้องเป็นการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้แบบทุกช่องทาง
  3. E–Commerce Platform: ธุรกิจจำเป็นต้องมี E-Commerce Platform ที่เน้นประโยชน์เพื่อธุรกิจ SME อย่างแท้จริง เพื่อสร้าง Ecosystem ของ SME ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยได้
  4. Self–employed/ Entrepreneurs: เครื่องมือที่ช่วยให้เกิด Self Entrepreneurs หรือธุรกิจที่เป็นบุคคล ซึ่งกำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ

แม้ว่า AIS จะมีบทบาทหลักเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคม แต่ในส่วนของธุรกิจองค์กร โดยเฉพาะฝั่งตลาด SME นั้น ถือว่ามีความเชี่ยวชาญและมีการทำงานร่วมกับภาค SME ไทยมายาวนาน ยิ่งเมื่อบวกกับวิสัยทัศน์ในปี 2023 ที่มุ่งสร้างการเติบโตให้กับเศรษฐกิจแบบร่วมกัน หรือที่เรียกว่า “Ecosystem Economy” นั่นทำให้ภาพของการทำงานร่วมกับ SME ถูกเติมเต็ม ด้วยการผนึกกำลังของภาคธุรกิจต่างอุตสาหกรรมแบบ Cross Industries Collaboration กอดคอพากันเติบโตไปทั้ง Ecosystem

“ภาพที่ AIS วางไว้เป็นทิศทางหลัก คือการสร้างสิ่งที่เรียกว่า Ecosystem Economy เพราะในโลกที่เรียกว่า “VUCA World” ไม่มีใครที่สามารถกินรวบคนเดียวได้ แต่ต้องเป็นการทำงานร่วมกัน ทั้ง Ecosystem โดยที่องค์ประกอบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยี ซับพลายเออร์ ผู้ซื้อ ผู้ขาย ซับพลาย การขนส่ง หรือแม้แต่สตาร์ตอัพ ทุกคนจะเข้ามาร่วมสร้าง Ecosystem ที่สมบูรณ์”

ธนพงษ์ ฉายภาพวิสัยทัศน์ “Ecosystem Economy” ในมิติของภาค SME ประกอบไปด้วย 3 แกน คือ

  1. Digital Intelligence Infrastructure: หรือโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ซึ่ง AIS มีการลงทุนอย่างมหาศาลทั้งเทคโนโลยี 5G การติดต่อสื่อสาร อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จนถึง Cloud Platform และ Digital Platform ต่าง ๆ เพื่อรองรับความต้องการของธุรกิจ SME
  2. Cross Industries Collaboration: การทำงานร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรม เพราะธุรกิจ SME ถือเป็นกลุ่มที่มีความซับซ้อนสูงที่สุด การทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ต่างอุตสาหกรรมจะช่วยลดขั้นตอนในการทำงาน ทำให้ SME ไม่จำเป็นต้องลงทุนสูงแต่ได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการ
  3. Human Capital & Collaboration ผลักดันผู้ประกอบการ SME ให้สามารถเติบโตสู่เวทีโลก ด้วยการยกระดับทักษะและความสามารถต่าง ๆ ให้กับธุรกิจ SME ไทย

“ทั้ง 3 แกนนี้จะทำให้เกิดโอกาสในการเติบโต ตราบใดที่ SME ยังคงมี Growth Mindset ในการริเริ่มสิ่งใหม่ กล้าเผชิญความท้าทาย และพร้อมที่จะ Move on แน่นอนว่าโอกาสจะรออยู่ข้างหน้า”

ด้านโฟกัสหลักของ AIS จะมุ่งไปที่ 4 อุตสาหกรรมหลักของภาค SME ไทย คือ 1. กลุ่มการค้า (Commerce) 2. ภาคการผลิต (Manufacturing) 3. ภาคการบริการ (Services) 4.ดิจิทัล (Digital)

สิ่งที่ AIS จะให้กับ SME ไทย จะเริ่มตั้งแต่กลุ่ม Commerce โดยมีการออกแพคเกจ “SME 5G ถุงเงิน” สำหรับ “ร้านค้าถุงเงิน” ที่อยู่ในระบบกว่า 1.8 ล้านรายโดยเฉพาะ ทำให้ทุกธุรกรรมหรือการใช้งานแอปพลิเคชั่นถุงเงินทุกรูปแบบไม่เสียค่าอินเทอร์เน็ต มีวอลเปเปอร์มงคล อินเทอร์เน็ต 20GB คิดค่าบริการรายเดือน 399 บาท เสริมธุรกิจให้ซื้อง่าย-ขายคล่อง และต้นทุนต่ำ

สำหรับพ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์ม TikTok มีแพคเกจ “SME 5G TikTok Seller” ที่ให้การใช้งาน TikTok ไม่มีค่าใช้จ่ายอินเทอร์เน็ตเพิ่มเติม และยังสามารถใช้บริการโปรแกรมบัญชีจาก FLOWACCOUNT ได้ฟรีอีก 12 เดือน ในราคา 1,199 บาท

นอกจากนี้ยังมีแพคเกจ “SME Cloud Camera Solution” โซลูชั่นกล้องวงจรปิดพร้อมพื้นที่เก็บข้อมูลบน Cloud ที่ถูกออกแบบมาเพื่อองค์กรธุรกิจโดยเฉพาะ สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการในราคาเริ่มต้นที่ 2,190 บาท

สำหรับกลุ่ม Manufacturing ตรงนี้ถือว่าน่าสนใจเพราะ บมจ. เทเลอินโฟ มีเดีย บริษัทในเครือ AIS ได้สร้างแพลตฟอร์ม “Yellow.co.th” เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการ SME เข้าสู่โลกดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว พร้อมเข้าถึงลูกค้าได้โดยตรง

แพลตฟอร์ม “Yellow” คือ B2B2C e-Marketplace ศูนย์รวมสินค้าทุกประเภทจากผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ ที่ช่วยให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาพบกัน ช่วยทำ Business Matching เพิ่มช่องทางขายส่งออนไลน์ได้ง่ายขึ้นไปยังกลุ่ม B2B และ B2B2C ให้สั่งซื้อสินค้าจากโรงงานผู้ผลิตโดยตรงไม่ผ่านคนกลางโดยผู้ขายสามารถค้นหาผู้ซื้อได้จากระบบ RFQ Marketplace ซึ่งเป็นแหล่งรวมประกาศหาสินค้าจากผู้ซื้อ ส่วนราคาก็จะเป็นราคาขายส่งโรงงานเพราะไม่มีคนกลาง ช่วยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME รายเล็ก เข้าถึงผู้ซื้อรายใหญ่ได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์การซื้อ-ขายแบบ B2B เช่น การทำใบเสนอราคา การชำระเงินผ่านระบบ mPay บริการขนส่งครบวงจรจาก Shippop

ที่น่าสนใจคือ Yellow มีบริการให้คำปรึกษาด้าน Digital Marketing กับธุรกิจ SME โดยเฉพาะ ตั้งแต่การนำรูปสินค้าเข้าระบบ การถ่ายรูปสินค้าแต่ละ SKU จนสามารถเปิดร้านได้สำเร็จ แถมมีการทำ SEO ให้ด้วย เรียกได้ว่าถ้าทำไม่เป็นก็มีคนช่วยทำจนเสร็จ ส่วนค่าบริการนั้น Yellow คิดเป็นค่าธรรมเนียมรายปี เฉลี่ยปีละ 20,000-40,000 บาท ปัจจุบันมีสินค้าอยู่บนแพลตฟอร์มประมาณ 10,000 SKU แล้ว

ตอกย้ำภาพของการเป็น “Ecosystem Economy” ด้วยการจับมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) พร้อมให้สิทธิประโยชน์กับผู้ประกอบการ SME ทั้งที่เป็นสมาชิกและไม่ใช่สมาชิก ด้วยสิทธิประโยชน์ครบครัน

ในกลุ่ม Service​s และ Digital สิ่งที่ AIS Business ทำจะไม่ใช่แค่การ Cross Industries Collaboration แต่จะเป็นการสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนร่วมกัน ระหว่างบริษัทเทคโนโลยี กับ SME ที่ต้องการความช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยี

น่าสนใจตรงที่ AIS Business มีทัพ AIS The Startup ซึ่งเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ที่มีเครื่องมือ และดิจิทัลโซลูชั่นสำหรับธุรกิจอย่างครบครัน ขณะเดียวกัน AIS Business ยังมีส่วนแบ่งในตลาด SME ประเทศไทยเกือบ 50% นั่นจึงทำให้ สามารถจับคู่โซลูชั่นกับโจทย์ทางธุรกิจของ SME ได้อย่างลงตัว ผ่านการทำสิ่งที่เรียกว่า Go-To-Marketเพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์และบริการของ Startup ในเครือ AIS แก่ลูกค้า SME พร้อมสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม ผ่านโครงการที่เรียกว่า “BIZ UP” ซึ่งเปรียบเสมือน Serenade Program ของลูกค้า SME

“ลูกค้า SME ต้องการสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างจากลูกค้าทั่วไป เป็นเอกสิทธิ์เหนือระดับเฉพาะ SME นิติบุคลที่แรกที่เดียวในไทย อย่าง AIS Poins รวมถึงสิทธิประโยชน์ทางด้านธุรกิจ เช่น โอกาสในการทดลองใช้ซอฟต์แวร์ใหม่ บริการห้องประชุม ระบบบัญชี หรือบริการแม่บ้าน จึงเป็นที่มาของโครงการ BIZ UP ในการนำสิทธิประโยชน์ทางธุรกิจโดยเฉพาะจากสตาร์ตอัพและพาร์ทเนอร์ไปให้กับผู้ประกอบการ SME ทำให้เกิด Ecosystem ที่เติบโตไปพร้อมกัน” ธนพงษ์ อธิบาย

ตัวอย่างสิทธิประโยชน์ของ BIZ UP เช่น การได้ส่วนลดจาก Shippop สตาร์ตอัพด้านการขนส่งที่มีการเชื่อมกับบริษัทขนส่งทุกรายในประเทศไทย มีแฟรนไชส์กว่า 2,000 แห่งทั่วประเทศ หรือการใช้บริการระบบบริหารจัดการร้านอาหารครบวงจรจาก Food Story ในราคาพิเศษ นอกจากนี้ยังมีสิทธิประโยชน์จากพันธมิตรชั้นนำอื่น ๆ อีกมาก https://business.ais.co.th/bizup/privileges.html

เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ AIS Ecosystem Economy เพื่อเติบโต อุ่น ใจ ไปด้วยกันกับ AIS SME ปลดล็อคทุกข้อจำกัด ให้ธุรกิจพร้อมเผชิญหน้ากับความท้าทายของโลก “VUCA World” อย่างแข็งแกร่ง

AIS SME พร้อมอยู่เคียงข้างธุรกิจ SME ให้เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน

แสกน QR Code นี้ เพื่อรับสิทธิพิเศษ หรือคลิก https://m.ais.co.th/OzHQEyMFm

วันที่เผยแพร่ 29 มิถุนายน 2566

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business