2565 ปีทองของ Smart Manufacturing

              อุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing) ทั่วโลก กำลังเผชิญความท้าทายสำคัญในการ “เร่งความเร็ว” ยกระดับสู่การเป็น Smart Manufacturing ที่สามารถเกาะติดเทรนด์การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) เพื่อรับมือแรงกดดันภายใต้บริบทโลกใหม่ หลังจากช่วง 2 ปีที่ผ่านมาถูกผลักเข้าสู่กระแส New Normal ที่แทบทุกกิจกรรมถูกจัดระเบียบด้วยมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) มีความจำเป็นในการนำเทคโนโลยีมาใช้ควบคู่กับการทำงานรูปแบบเดิมๆ มากขึ้น เพื่อสนับสนุนการทำงานระยะไกล (Remote Working)

              ภายใต้บริบทใหม่นี้ บุคลากรฝ่ายสนับสนุนของบริษัทผู้ผลิตหลายแห่งถูกบังคับให้อยู่กับบ้าน และกำลังคน ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของสายการผลิต (shop floor) ต้องรับผิดชอบเรื่องการใช้ประโยชน์ข้อมูลเชิงลึกจากกระบวนการทำงานแบบดิจิทัล ขณะที่ต้องเผชิญหน้าข้อจำกัดสำคัญ เนื่องจาก “โรงงาน คือ ระบบนิเวศน์ที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา”  จึงเป็นไปไม่ได้สำหรับพนักงานที่อยู่บ้าน ที่จะสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูล และให้คำแนะนำการปรับปรุงต่างๆ จากข้อมูลสารสนเทศที่มีอยู่ โดยขาดมุมมองเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของโรงงาน

              ดังนั้น จึงนำมาสู่การตีโจทย์ใหญ่ของอุตสาหกรรมการผลิต ในการเพิ่มการลงทุนยกระดับสู่การเป็น Smart Manufacturing และปรับกระบวนการทำงานสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) เพื่อให้พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้งานข้อมูล ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่แต่ละคน และสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึก ในการขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์สำหรับองค์กร ครอบคลุมไปถึงลูกค้า และกระบวนการทำงานภายในองค์กร

จับกระแส 5 ความเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการผลิต

              ทางด้านเว็บไซต์ IndustryWeek ได้นำเสนอบทวิเคราะห์ที่ฉายภาพความร้อนแรงของการยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตสู่การทำงานแบบดิจิทัลว่า ในปี 2565 จะเป็นปีแห่งโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) อย่างเต็มรูปแบบ จะเห็นการลงทุนเพื่อนำเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาปรับปรุง “ภูมิทัศน์ดิจิทัล” ครั้งสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมกลุ่มนี้ เนื่องจากตระหนักแล้วว่า การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ไม่ใช่แค่เพื่อความสามารถในการแข่งขัน แต่ยังหมายถึง “ทางรอด” ของธุรกิจอีกด้วย

              สำหรับคาดการณ์ 5 ความเปลี่ยนแปลงสำคัญในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ในยุคที่ต้องยกระดับสู่ Smart Manufacturing ประกอบด้วย

  1. อุตสาหกรรมการผลิตจะขยับมาสู่การปรับตัวเป็น “โรงงานอัจฉริยะ” แบบเต็มรูปแบบ ปัจจัยสนับสนุนข้อหนึ่งมาจากการที่เทคโนโลยีมีราคาที่ cost-effective มากขึ้นจากจำนวนผู้เล่นใหม่ๆ ในตลาด เพิ่มตัวเลือกที่หลากหลายให้เลือกนำไปใช้ประกอบกันเป็นโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการใช้งาน
  2. องค์กรจะถูกขับเคลื่อนจากความกลัว “ตกกระแส” หรือ FOMO (The Fear of Missing Out) โดยเริ่มเข้าใจมากขึ้นว่า การหลีกเลี่ยงการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล ไม่ใช่ตัวเลือกอีกต่อไป และถ้าไม่รีบกระโดดเข้าสู่กระแส Digital Transformation ตั้งแต่ตอนนี้ ก็จะไม่สามารถแข่งขันได้
  3. ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) จะกลายเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง อำนวยความสะดวกให้อุตสาหกรรมการผลิตมีการทำงานแบบโรงงานอัจฉริยะ เพราะสามารถดึงข้อมูลจากทุกส่วนงานขององค์กรมารวมศูนย์ และใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีและบุคลากร
  4. ระบบออโตเมชันจะถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่งรวมถึง ระบบแมชชีนวิชั่น (Machine Vision) ที่ทำให้เครื่องจักรมองเห็นและตัดสินใจด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งพามนุษย์ (AI) และหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ (AMRs) จะมีบทบาทอย่างมากในโรงงานอัจฉริยะ เพิ่มความรวดเร็วและความแม่นยำในกระบวนการทำงาน ขณะที่ แรงงาน “มนุษย์” ก็ไม่ได้ถูกลดความสำคัญลง โดยจะหันมามุ่งเน้นบทบาทในงานที่จำเป็นต้องใช้ทักษะเฉพาะด้านที่เครื่องจักรไม่สามารถแทนที่ได้ในการขับเคลื่อนมูลค่าทางธุรกิจให้กับองค์กร
  5. ปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิตในช่วง 2 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ก่อนถึงจุดฟื้นตัว ดังนั้นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการทำงานจึงมีความสำคัญ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทต่างๆ ยังสามารถเดินหน้าการทำงาน และสนองตอบความต้องการลูกค้าได้

“ข้อมูล” ขุมพลังยกระดับการผลิตรับยุคดิจิทัล

              ทราบหรือไม่? ในทุก 1 สายการผลิต (Production Line) ของภาคอุตสาหกรรม จะสร้างข้อมูลต่อวันจำนวนมากถึง 70 เทราไบท์ หรือเทียบได้กับจำนวนข้อมูลที่จะใส่ไว้ในสมุดโทรศัพท์ 5 ล้านเล่ม (ที่มา : Industrytoday)  ดังนั้นทำอย่างไรที่องค์กรและผู้บริหารจะสามารถพบเจอ “ข้อมูลที่มีคุณค่า (Value data)” เพื่อต่อยอดสู่การวิเคราะห์และสังเคราะห์ สร้างความเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทำงานรองรับกระแสการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล  และใช้ประโยชน์ขับเคลื่อนการเติบโต ยกระดับประสิทธิภาพทั้งด้านการผลิตและบุคลากร ลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาส่งมอบผลิตภัณฑ์สู่ตลาด/ลูกค้า เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน นำไปสู่การเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน

              คำเตือนแรกจากกูรูของเว็บ Industrytoday ก็คือ  “อย่าหลงทางไปกับข้อมูล (Don’t Get Lost in Data)” อย่าเสียเวลาไปกับการควานหาข้อมูลจำนวนมหาศาลแบบไร้จุดหมาย เพื่อมองหา “ข้อมูลเชิงลึก (insights)”  แต่องค์กรควรให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ และระดมทีมให้เริ่มจัดระเบียบข้อมูล และกระบวนการทำงาน เพื่อให้สามารถ “ปักหมุด”ปัญหาเฉพาะด้านที่ต้องการแก้ไข และเริ่มทำงานจากจุดนั้น เมื่อทีมตระหนักถึงโจทย์ปัญหาแล้ว ขั้นต่อไปคือ จัดทำหัวข้อชุดข้อมูล เพื่อให้การนำไปใช้แก้ไขปัญหามีความชัดเจนขึ้น

              สำหรับก้าวเริ่มต้นสำคัญที่จะทำให้ประหยัดเวลาเพื่อสกัดข้อมูลที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ออกมา ได้แก่ “การปรับวิธีคิด” โดยชี้เป้าว่า ข้อมูลจะช่วยทีมในการสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างไร และช่วยขับเคลื่อนการปรับปรุงธุรกิจให้มีความฉับไวได้แบบเรียลใทม์ ลดความหน่วงในกระบวนการทำงานต่างๆเพื่อให้เกิดประโยชน์กับลูกค้าในแง่ของคุณภาพ (quality) การส่งมอบตรงเวลา (on-time delivery) หรือในแง่มุมการผลิต (production standpoint)

              ทั้งนี้ แนวคิดของ “การผลิตที่ทันสมัย (Modern Manufacturing)” จะเห็นชัดขึ้น การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์/เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตสู่ดิจิทัล จะมีบทบาทสำคัญต่อการแข่งขันในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจปัจจุบัน บริษัทที่เคย “ตกขบวน” ในการทำดิจิทัล ทรานสฟอร์เมชั่น กำลังวิ่งตามให้ทันกระแสนี้ โดยจากรายงานของ “2021 State of Manufacturing Report” ระบุว่า 91% ของผู้บริหารในระดับที่เป็นผู้ตัดสินใจของโรงงานการผลิต เดินหน้าลงทุนเพิ่มสำหรับการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลในปีนี้ เพื่อฉกฉวยประโยชน์จากการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งในเรื่องข้อมูลแบบเรียลไทม์ การผลิตรวดเร็วขึ้น ส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต เพิ่มประสิทธิผล เพิ่มความชาญฉลาดให้กับระบบการทำงาน ตลอดจนเพิ่มความรวดเร็วในการตัดสินใจ

5G ยกระดับการผลิตยุคทั้งโรงงาน(ต้อง) เชื่อมต่อกัน

              โรงงานในยุคการผลิตที่ทันสมัย จะมีสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนสูง อันเป็นผลจากการใช้เครื่องจักร และ Facility ที่ล้ำสมัย ตลอดจนการนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้งาน มีการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์จำนวนมากเพื่อเชื่อมต่อกับเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลบนคลาวด์ เพื่อประเมินการทำงาน บริหารจัดการตารางการผลิต ตลอดทุกกิจกรรมในส่วนการผลิต กระบวนการสื่อสารและใช้งานข้อมูลต้องทำได้รวดเร็ว ไม่สะดุด

              เทคโนโลยี 5G จึงเป็นคำตอบที่ “ใช่” ในการสร้างสภาพแวดล้อมด้านการผลิตที่ต้องการการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง รองรับการรับส่งข้อมูลปริมาณมหาศาล  ค่าความหน่วง (Latency) ต่ำ สนับสนุนการเชื่อมต่อใช้งาน​ระยะไกลได้จำนวนมากของอุปกรณ์​ sensor หรือ IoT (Internet of Things) ยืดหยุ่นในการออกแบบเครือข่ายให้เหมาะสม ตามความต้องการของโซลูชั่นในแต่ละอุตสาหกรรม

              ด้วยศักยภาพของ “5G Smart Manufacturing Solutions” ที่เป็นการผสานรวมระหว่างขุมพลังของโครงข่ายอัจฉริยะ AIS 5G ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ ความปลอดภัยสูงสุดมาตรฐานระดับโลกของศูนย์ข้อมูล (Data Center) ที่ได้รับการออกแบบภายใต้แนวคิด Secure Cloud Infrastructure for Business ซึ่ง CSL จัดตั้งไว้ครอบคลุมทุกภูมิภาคในประเทศ เสริมแกร่งด้วยการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม ทั้ง OT (Operation Technology) และ SI (System Integrator) ชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ เพื่อร่วมให้บริการโซลูชั่นสำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตอย่างครบวงจร ทำให้เรามั่นใจว่า สามารถนำเสนอบริการได้ครอบคลุมตอบโจทย์ความต้องการในทุกมิติสำหรับภาคอุตสาหกรรม ร่วมเป็นภาคส่วนหนึ่งในการยกระดับอุตสาหกรรมไทยติดปีกขีดความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจการผลิตในยุค 4.0 และการเติบโตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในทุกบริบท

วันที่เผยแพร่ 4 เมษายน 2565

Reference

  1. Murad Kurwa,” The Power of Data and Digitization in Manufacturing”, December 10, 2021, From https://industrytoday.com/the-power-of-data-and-digitization-in-manufacturing/
  2. Jason Bergstrom,” Five Predictions for 2022, ‘The Year of the Smart Factory’”, December 21, 2021 , From https://www.industryweek.com/technology-and-iiot/automation/article/21212415/five-predictions-for-2022-the-year-of-the-smart-factory
  3. PWC, “Smart Manufacturing Powered by 5G”, 2021, From https://www.pwc.com/gx/en/industries/tmt/5g-in-manufacturing.html

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ 

สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล 
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที