เคล็ด(ไม่)ลับ Do & Don’t ที่องค์กรยุคดิจิทัลปี 2022 “ต้องรู้”

              ในยุคที่โลกทั้งใบถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล องค์กรธุรกิจต้องเผชิญโจทย์บังคับให้ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองสู่กระบวนการทำงานรูปแบบดิจิทัล (Digital Transformation) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ต้องทุ่มเททรัพยากร “ลงทุน” และแปลงผลลัพธ์จากการลงทุนนั้นสู่การสร้าง “มูลค่า” ให้กับข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ เพื่อให้องค์กรเข้าใจข้อมูลเชิงลึก (Insight) และมี Information ในการจะเปลี่ยนแปลงธุรกิจได้ เพื่อให้ก้าวทันกระแส Technology Disruption และความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมลูกค้าที่เกิดขึ้นตลอดเวลา

              ดังนั้น การวางกลยุทธ์ไปข้างหน้า การให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ที่จะนำมาใช้เพื่อช่วยในการตัดสินใจ จึงเป็นย่างก้าวเริ่มต้นสำคัญในการนำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จด้วย  Digital Transformation และลดแรงกระแทกจากผลกระทบของความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีให้เหลือน้อยที่สุด โดยมี “หัวข้อ” ที่ต้องคำนึงถึง 4 ข้อ ที่สามารถเป็นเสมือนแผนที่นำทางองค์กรได้ว่า ยุทธศาสตร์ใดบ้างที่ “ควร” หรือ “ไม่ควร” เพื่อช่วยให้รอดพ้นจากการตกหลุมพรางระหว่างการนำพาองค์กรสู่ความทันสมัย

Cyber security with man using a laptop in a modern gray chair

Do : ใส่ใจกับเรื่องระบบความปลอดภัย

              เทรนด์การทำงานจากระยะไกลที่กลายเป็นเรื่องธรรมดามากยิ่งขึ้น ในอีกมุมหนึ่งก็ได้เปิด “ช่องโหว่” ให้องค์กรถูกโจมตีทางไซเบอร์ องค์กรที่ไม่ได้เตรียมความพร้อม ในการจัดหาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นให้กับพนักงานเพื่อป้องกันตัวจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ ก็เท่ากับได้เปิดช่องว่างด้านระบบรักษาความปลอดภัยไว้

              ทุกวันนี้ ทีมด้านไอทีอาจเผลอมองข้าม สิ่งที่พนักงานกำลังดาวน์โหลด หรือลิงก์ที่กำลังคลิกเปิด จนกำหนดกฎเกณฑ์ความปลอดภัยที่หย่อนยานเกินไป ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ต้องคิดใหม่ ทำใหม่ หันมาให้ความสำคัญกับระบบความปลอดภัยในระดับสูง เป็นลำดับแรกสุด

              โดยเฉพาะสำหรับบริษัทใหญ่ๆ ซึ่งยิ่งต้องเพิ่มความสำคัญของการจัดทำแผนงานระบบความมั่นคงปลอดภัย โดยผนวกเป็นส่วนหนึ่งใน Digital Transformation ซึ่งแผนงานดังกล่าว ต้องครอบคลุมถึง การทำให้มั่นใจได้ว่าทีมบุคลากรที่ทำงานจากนอกออฟฟิศ มีอุปกรณ์การทำงานที่เหมาะสม และที่ต้องทำควบคู่กันไปคือ การจัดอบรมซ้ำให้กับพนักงานที่มีอยู่ปัจจุบัน ในเรื่องคู่มือปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ไอที  (IT Guidelines) ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงใหม่ (New Reality) ของการทำงาน

              ทั้งนี้ จากรายงาน Endpoint Protection Platform Forecast ฉบับล่าสุดของการ์ทเนอร์ คาดการณ์ไว้ว่า องค์กรทั่วโลกจะมีการใช้จ่ายในการลงทุนแพลตฟอร์มสำหรับปกป้องความปลอดภัยของอุปกรณ์ในกลุ่ม Endpoint เพิ่มจาก 13.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 2564 เป็น 26.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568 โดยความสำคัญลำดับแรกๆ จะทุ่มไปที่ระบบความปลอดภัยของอุปกรณ์ปลายทาง (Endpoint Security)

              ผู้ดูแลระบบขององค์กรยุคใหม่ จำเป็นต้องมีโซลูชัน บริหารจัดการอุปกรณ์ปลายทาง (Endpoint) ที่มีความสามารถทั้ง การช่วยให้พนักงานใช้งานเครื่องและแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้พนักงานในองค์กรสามารถติดตั้งแอปพลิเคชันได้โดยตรง กำหนดนโยบายการใช้แอปพลิเคชันในองค์กรได้ เช่น การติดตั้งหรือใช้งานแอปพลิเคชัน Work Profile แยกข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลการทำงานออกจากกัน ตลอดจนบริหารจัดการด้านความปลอดภัยและการเข้าใช้งานในระดับสูงขึ้น ทั้งการใช้งาน Mail, Calendar, Docs และ Social สนับสนุนการปกป้องข้อมูลสำคัญในองค์กร โดยการจำกัดการเข้าใช้งานแบบมีเงื่อนไข ยื่นยันตัวตนผ่านระบบ Authenticator บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เป็นต้น

Young business person working on tablet and shows the digital sign: HYBRID CLOUD

Do : จัดลำดับความสำคัญของการทำงานรูปแบบไฮบริด

              ทุกวันนี้ภาพการทำงานที่สามารถเลือกได้ว่าจะเข้าออฟฟิศ หรือทำงานจากที่ใดก็ได้ (Hybrid Work) เริ่มเป็นที่คุ้นเคยมากขึ้น ซึ่งรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นนี้ เป็นประโยชน์อย่างมากกับทีมงาน ดังนั้น องค์กรควรพิจารณาถึงการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานที่ใส่ใจกับการรองรับการทำงานในระยะยาว และควรเร่งจัดทำออกมาแต่เนิ่น ๆ ภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานรูปแบบใหม่ Hybrid Work Environment ซึ่งเปิดกว้างให้พนักงานสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้ (Virtual Workforce)ขณะเดียวกัน ก็มีความจำเป็นที่ต้องสนับสนุนให้เกิดกระบวนการทำงานประจำวันที่ต้องเชื่อมต่อได้แบบ “ไร้รอยต่อ” ระหว่างการทำงานในสำนักงาน และทีมบุคลากรที่ทำงานจากข้างนอก องค์กรหรือผู้ดูแลระบบ ต้องเปิดการเชื่อมต่อให้พนักงานสามารถใช้อุปกรณ์ปลายทางส่วนตัว เข้าถึงระบบและข้อมูลจำเป็นต่างๆ ได้อย่างราบรื่นเสมือนการทำงานในออฟฟิศ ผ่านระบบ “คลาวด์” ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการอุปกรณ์หลากหลาย แพลตฟอร์มที่มีการใช้งานกันอยู่ในองค์กร ให้ผู้ใช้งานสะดวก แต่ขณะเดียวกันต้องตอบโจทย์เรื่องความมั่นคงปลอดภัยด้วย

              จึงมีประเด็นพิจารณาหลายข้อในการออกแบบโครงสร้างรูปแบบการทำงานแบบไฮบริด หนึ่งในนั้นคือ ความยืดหยุ่นของการใช้งานระบบคลาวด์ ซึ่งสามารถเพิ่มขยายได้ตามความต้องการ สามารถรองรับการใช้งานแอปพลิเคชันที่จำเป็นในการทำงานขององค์กรได้ รวมถึงระบบความปลอดภัยที่จะรองรับการทำงาน แบบไฮบริด อีกทั้งองค์กรต้องปรับนโยบายการทำงานที่ไม่ขึ้นกับข้อจำกัดจาก Time Zone ที่แตกต่างกัน เพื่อแลกกับการเพิ่มจำนวนกลุ่มบุคลากรที่มีความสามารถสูง (Talent Pool)

Intelligence (BI) and business analytics (BA) with key performance indicators (KPI) dashboard concept.StartUp Programming Team. Website designer working digital tablet dock keyboard.

Don't : อย่าริเริ่มโครงการใดๆ โดยไม่มีข้อมูลรองรับ

              คุณอาจคิดว่า ตัวเองรู้ดีว่าโครงการ Digital Transformation ใดที่ “ใช่” สำหรับองค์กร แต่แม้กระทั่งผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่สุด ก็สามารถมองข้าม “ชิ้นส่วนปริศนา” ที่สำคัญยิ่งยวดสำหรับกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลดังนั้น การพึ่งพา “ข้อมูล” จะบอกให้ทราบได้ว่า กลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านต้องทำอะไรบ้าง ตลอดจนทรัพยากรที่จะใช้สนับสนุน ทั้งนี้ช่วยให้ไม่ต้องเสียเวลาไปกับการทำส่วนที่ไม่สำคัญในการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน

              โดยมีดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (KPI) 4 ข้อ ตามคำถามต่อไปนี้ ที่จะช่วยในการตัดสินว่าโครงการนำร่องสู่การทำ Digital Transformation ที่กำลังเตรียมเดินหน้านั้นจะ “รุ่ง” หรือ “ล้ม” ได้แก่

  1. เป้าหมายการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล
  2. จุดสมดุล (Balance Point) ขององค์กรอยู่ตรงไหน
  3. สถานะปัจจุบันขององค์กร
  4. อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนของแต่ละโครงการใหม่ๆ
Customer Experiences Concept. Happy Client using Computer Keyboard to Sending a Positive Review. Satisfaction Online Survey

Don't : อย่าประเมินประสบการณ์ลูกค้าต่ำเกินไป

              ลูกค้าและองค์กรลูกค้า คือศูนย์กลางความสำเร็จของธุรกิจ และบ่อยครั้งที่ประสบการณ์ลูกค้า คือ ส่วนที่เห็นได้ชัดที่สุดของกลยุทธ์ทางธุรกิจ ในการขยับเพื่อ “ปรับแต่ง” กระบวนการทำงาน และบริหารจัดการให้ได้ประสิทธิภาพการดำเนินงานสูงสุด จึงต้องพึงระวังที่จะไม่มองข้ามจุดที่สามารถปรับปรุง “การเดินทางของลูกค้า (Customer Journey)” ได้

              บ่อยครั้งที่ การปรับเปลี่ยนกระบวนการสู่ดิจิทัล และประสบการณ์ลูกค้า ไม่ใช่สิ่งที่จะเชื่อมต่อกันได้โดยอัตโนมัติ แต่ถ้าองค์กรทำการปรับปรุงการบูรณาการด้านข้อมูล และการเชื่อมต่อของระบบ ก็จะสร้างให้เกิดการเดินทางของลูกค้าแบบไร้รอยต่อได้ดียิ่งขึ้น

              ยกตัวอย่างเช่น ยิ่งองค์กรมีฐานข้อมูลแบบมีโครงสร้าง และเป็นฐานข้อมูลที่แข็งแกร่งมากขึ้นท่าไร ทีมบริการลูกค้า ก็จะสามารถตอบสนองความต้องการลูกค้าได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นั่นหมายความว่า คุณสามารถลดระยะเวลาการรอคอยให้กับลูกค้า และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้เพิ่มขึ้น

              การปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้า อย่างแรกก็คือ ต้องเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้งในแต่ละจุดของเส้นทางการเดินทางลูกค้า และเมื่อมีความคุ้นเคยกับแต่ละช่วงใน Lifecycle ของลูกค้า ก็จะทำให้ง่ายยิ่งขึ้นสำหรับการระบุ Pain Points และทำการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

              ทั้งนี้ จากรายงานตั้งแต่ปี 2562 ของ Salesforce ได้บ่งชี้ถึง “บทบาท” ของประสบการณ์ลูกค้าต่อความสำเร็จของการทำ Digital Transformation ไว้ในระดับสูงมาก โดยพบว่า 80% ของลูกค้ามองว่า “การสร้างประสบการณ์” มีความสำคัญเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์ หรือบริการของบริษัทนั้นๆ และยิ่งในยุคที่คนทั้งโลกผ่านการเผชิญกับสถานการณ์แพร่ระบาดโควิดอย่างในปัจจุบัน ยิ่งยกระดับการสร้างประสบการณ์ขึ้นไปอยู่บนดิจิทัลมากขึ้น พฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนแปลงไปอีกขั้นหนึ่ง และดิจิทัลจะกลายเป็น “ตัวเลือก” แรกๆ ที่ลูกค้าเทใจให้ ดังนั้น บริษัทหรือองค์กรที่ตอบโจทย์ความคาดหวังนี้ได้ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้ ก็จะขึ้นมาเป็นที่ 1 ในใจลูกค้า อย่างไรก็ตาม เหล่านี้ต้องถูกขับเคลื่อนการวางแผนยุทธศาสตร์ที่มี “ข้อมูลรองรับ”

Data, Security and Hybrid Work Environment กับองค์กรยุคดิจิทัล

              ปฏิเสธไม่ได้อีกต่อไปว่า บริบทของโลกยุค New Normal ได้เพิ่มความท้าทายให้กับองค์กร ในเรื่องความปลอดภัย โดยเฉพาะในเรื่องของ “ความปลอดภัยข้อมูล” ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการทำยุทธศาสตร์องค์กรเพื่อเก็บเกี่ยวความสำเร็จจาก Digital Transformation

              การลงทุนด้านความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริด จึงไม่ได้มุ่งเพียงแค่การปกป้องข้อมูลที่ถูกขยับไปเก็บไว้บน “คลาวด์” เท่านั้น แต่จำเป็นต้องมีโซลูชันการบริหารจัดการความปลอดภัยอุปกรณ์ปลายทาง (Unified Endpoint Security) ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เคลื่อนที่ หรือคอมพิวเตอร์ เข้ามาร่วมด้วย เพื่อ สร้างความมั่นใจได้ว่า “ข้อมูล” ทุกอย่างในการทำงานมีระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง ไม่เสี่ยงต่อการรั่วไหล หรือถูกโจมตีระหว่างทาง ซึ่งหมายความว่า ตั้งแต่บนคลาวด์ ครอบคลุมถึงอุปกรณ์ปลายทางที่ “พนักงาน” ใช้ในการทำงาน ไม่ว่าจะจากที่ใด เช่น ออฟฟิศ ที่บ้าน ร้านกาแฟ ซึ่งต้องมีการติดตั้งระบบความปลอดภัยที่มีมาตรฐานระดับสูง ไม่เปิดช่องโหว่ให้ถูกโจมตี หรือเกิดการรั่วไหลของข้อมูล

              การก้าวสู่องค์กรยุคดิจิทัล ต้องดูแลบริหารจัดการแพลตฟอร์มการทำงาน ภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานแบบ Hybrid Work ที่มีบทบาทเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมต้องดูแลควบคู่ไปกับการดูแลด้านความปลอดภัยของข้อมูล จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่องค์กรจะจัดการทุกอย่างทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว การได้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาช่วยให้คำปรึกษา และดูแลการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานเพื่อต่อยอดสู่โซลูชันต่างๆ จะช่วยให้องค์กรพัฒนาไปได้อย่างก้าวกระโดด

              AIS Business เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสนับสนุนองค์กรยุคดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่หลากหลาย พร้อมบริการ Managed Service ที่ครอบคลุมการทำงานตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ โดยมีการทำงานร่วมกับพันธมิตรเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก ผนวกความเชี่ยวชาญในบริการ “One Stop ICT Service”

วันที่เผยแพร่ 26 มิถุนายน 2565

Reference

  1. Rajan Sethuraman, "Digital transformation: 4 do's and don'ts for 2022”, From: https://enterprisersproject.com/article/2021/12/digital-transformation-4-dos-and-donts-2022
  2. Louis Columbus, “Top 5 trends for endpoint security In 2022”, From: https://venturebeat.com/2022/01/03/top-5-trends-for-endpoint-security-in-2022/
  3. Steven Widen, “The Role Of Customer Experience In Digital Success”, From: https://www.forbes.com/sites/forbesagencycouncil/2021/08/31/the-role-of-customer-experience-in-digital-success/?sh=5ca5102b5b5b

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ 

สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล 
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที