4 เทรนด์ Digital Health ปี 2021-2022: วางรากฐานทางเทคโนโลยีใหม่ สู่บริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

ในช่วงสองปีที่ผ่านมานี้ถือเป็นช่วงที่อุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุขนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จากการมาของภัยโรคระบาดอย่างโควิด-19 ที่ทำให้อุตสาหกรรมนี้ต่างต้องเร่งปรับตัวรับมือกันอย่างกระทันหัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อรองรับการรักษาโรคด้วยแนวทางใหม่ๆ ที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในบทความนี้จะเป็นการสรุปเทรนด์ด้าน Digital Health ที่เกิดขึ้นทั่วโลกและในไทย พร้อมทำนายแนวโน้มด้านเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุขในอนาคตหลังจากนี้

1. ก้าวสู่บริการสาธารณสุขที่ทุกคนเข้าถึงได้ ผ่านการใช้เทคโนโลยี

ในช่วงต้นปี 2020 ที่ผ่านมา หนึ่งในภารกิจสำคัญของอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุขนั้นก็คือการเร่งรับมือกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ให้ได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง ซึ่งในประเทศไทยนั้นเราก็ได้เห็นการพัฒนาและปรับตัวที่เกิดขึ้นหลายรูปแบบ เช่น

  • การพัฒนา Mobile Application เพื่อให้ติดตาม แจ้งเตือน และจองคิวเพื่อบริหารจัดการการฉีดวัคซีน
  • การตั้งโรงพยาบาลสนามอย่างเร่งด่วนในหลายพื้นที่นอกโรงพยาบาล รวมถึงรถพยาบาลและรถตรวจผู้ป่วย พร้อมเทคโนโลยีและระบบโครงข่ายเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลการรักษาระหว่างกัน
  • การพัฒนาระบบสำหรับติดตามผู้มีความเสี่ยงที่กักกันตัว
  • การพัฒนาระบบ Data Analytics Dashboard เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและทำนายแนวโน้มการแพร่ระบาดของโรค
  • การนำเทคโนโลยีระบบ Video Conference มาใช้เพื่อรองรับการสื่อสารรักษาทางไกลแบบ Telemedicine
  • การนำ Chatbot มาใช้เพื่อตอบคำถามและบริหารจัดการด้านการสื่อสารปริมาณมหาศาล
  • การนำอุปกรณ์ Wearable Device และ IoT มาใช้ในการติดตามผู้ป่วยหรือผู้กักกันตัว
  • การนำเทคโนโลยี Touchless มาใช้เพื่อลดการสัมผัสในโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนาม
  • การพัฒนาระบบ Call Center ฉุกเฉินสำหรับการให้บริการและรับแจ้งข้อมูลผู้ป่วย
  • การนำ AI มาใช้วิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย เป็นข้อมูลสำหรับช่วยประกอบการตัดสินใจในการดำเนินการรักษาได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

โครงการเหล่านี้เป็นเพียงการพัฒนาและปรับตัวส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นเท่านั้น ซึ่งโครงการเหล่านี้ก็ได้ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวงการสาธารณสุขเป็นวงกว้าง ในการเปิดรับนำเทคโนโลยีมาใช้ และก้าวข้ามข้อจำกัดต่างๆ ที่เคยมีในการทำงานเพื่อรับมือกับภัยโรคระบาดครั้งนี้ เรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลง Mindset ครั้งใหญ่ของบุคลากรในวงการเลยทีเดียว

แน่นอนว่าแนวทางเหล่านี้จะยังคงอยู่กับวงการการแพทย์และสาธารณสุขต่อเนื่องไปอีกหลังจากนี้ แม้ว่าภัยโรคระบาดจะเริ่มคลี่คลายลงแล้วจากการมาของวัคซีนที่ผู้คนทั่วโรคได้รับกัน ดังนั้นการลงทุนด้านระบบเทคโนโลยีทางการแพทย์นี้ก็จะยังคงเกิดขึ้นต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบ Application ทางการแพทย์ใหม่ๆ, โครงการด้าน AI สำหรับการรักษา, การพัฒนาระบบ Telemedicine ให้ต่อยอดมากขึ้นและสอดคล้องกับกระบวนการการรักษามากยิ่งขึ้น ไปจนถึงการใช้งานระบบ Healthcare Application ผ่านทาง Cloud เพื่อให้กระบวนการการเปิดโรงพยาบาลสนามหรือจุดตรวจรักษาผู้ป่วยนอกสถานที่เป็นไปได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้นกว่าเดิม

อ้างอิงจากรายงาน Enterprise ICT Investment Trends 2021 Healthcare Sector(1) ที่เผยแพร่มาในเดือนพฤศจิกายน 2021 ได้ระบุถึงผลสำรวจทางด้านเป้าหมายในการลงทุนทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุขทั่วโลกเอาไว้ดังนี้

  • เพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการรักษาผู้ป่วย 85.5%
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน 78%
  • นำเสนอประสบการณ์การรักษาที่ดีขึ้นให้กับผู้ป่วย 76.9%
  • ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ 73.1%
  • เพิ่มความสามารถในการผสานระบบร่วมกัน 73.1%
  • ตอบรับต่อข้อบังคับใหม่ๆ ทางกฎหมาย 71.0%

นอกจากนี้ในรายงานฉบับเดียวกันยังระบุว่าธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ทั่วโลกมีสัดส่วนการลงทุนของระบบ Software เติบโตยิ่งขึ้นดังนี้

  • ระบบ Enterprise Application มีสัดส่วนสูงสุดที่ 16.6% โดยระบบ Medical Health Records, ePrescribing/Pharmacy Systems และ Clinical Decision Support Systems (CDSS) เป็นสามระบบที่ได้รับความสำคัญมากที่สุด ตามมาด้วยระบบ Asset Tracking, Patient Tracking, Telehealth และ Laboratory Systems เป็นระบบที่สำคัญตามมา
  • ระบบ Communication Software มีสัดส่วนรองลงมาที่ 15.1% โดยมีองค์กรกว่า 84% ที่ได้ลงทุนในระบบดังกล่าวไปแล้ว และ 72% ยังคงมีแผนที่จะลงทุนต่อเนื่องเพิ่มเติม
  • ระบบ Storage และ Data Management & Analytics มีสัดส่วนเท่ากันที่ 14.8% โดยมีองค์กรกว่า 67% ที่ได้ลงทุนใช้งาน Business Intelligence หรือ Data Discovery ไปแล้ว และมี 62% ที่ใช้ Big Data ในขณะ 60% เริ่มมีการใช้งาน AI อยู่แล้ว และ 65% มีแผนที่จะลงทุนในระบบ AI เพิ่มเติม

ทั้งหมดนี้ได้ชี้ให้เห็นชัดว่าในอนาคต อุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุขจะต้องก้าวไปสู่การผสมผสานระหว่างการรักษาด้วยวิธีการแบบเดิม พร้อมกับการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างช่องทางและประสบการณ์ใหม่ในการดูแลรักษาผู้ป่วย เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยมีทางเลือกในการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขในช่องทางที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ในขณะที่การดำเนินการในโรงพยาบาลนั้นก็จะต้องมีเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ

2. การเร่งลงทุนระบบ IT Infrastructure และ Cloud พร้อมการเปิดรับ Managed Services เพื่อความคล่องตัวในการทำงาน

แน่นอนว่าในการเปิดรับนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่หลากหลายเข้ามาใช้งานอย่างรวดเร็วนี้ ก็ย่อมทำให้หน่วยงานสาธารณสุขและโรงพยาบาลนั้นต่างต้องเร่งปรับปรุงระบบ IT Infrastructure เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างเร่งด่วน รวมถึงมีการใช้งาน Cloud ที่เติบโตมากยิ่งขึ้นเพื่อให้สามารถขยายบริการสาธารณสุขในแบบดิจิทัลได้อย่างคล่องตัว

ในขณะเดียวกัน เมื่อมีการใช้งานเทคโนโลยีมากขึ้น ภาระด้านการดูแลรักษาระบบ IT เหล่านี้ก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วย แต่การลงทุนจัดจ้างพนักงานฝ่าย IT เพิ่มเติมท่ามกลางวิกฤตและภาวะที่มีการแข่งขันดึงตัวบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญเหล่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุข ดังนั้นบริการแบบ Managed Services ที่นอกจากจะทำให้ธุรกิจสามารถลงทุนใช้งานเทคโนโลยีได้โดยคิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริงแล้ว ก็ยังช่วยให้องค์กรเอาชนะความท้าทายด้านบุคลากรได้ด้วยการที่มีทีมงานผู้ดูแลรักษาระบบมาให้บริการในทุกๆ เทคโนโลยีที่ต้องการได้ทันทีใน Service Level Agreement (SLA) ระดับที่ต้องการ โดยที่องค์กรไม่ต้องมีภาระด้านการจัดจ้างบุคลากรด้วยตนเอง

รายงาน Enterprise ICT Investment Trends 2021 Healthcare Sector (1) ระบุถึงสัดส่วนการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีในภาพรวมของปี 2021 ทั่วโลกดังนี้

  • ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาบำรุงระบบ IT ที่มีอยู่เดิม 18.3%
  • ค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านระบบ Software ใหม่ 17.0% โดยมีการลงทุนในระบบ Application, Communication Software, Storage, Data Management & Analytics สูงสุดตามลำดับ
  • ค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านระบบ Hardware ใหม่ 16.7% โดยมีการลงทุนในอุปกรณ์ Network, Server, Security และ Storage สูงสุดตามลำดับ
  • ค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านระบบ Network และ Communication ใหม่ 16.0% โดยมีการลงทุนในระบบ IP Telephony, Mobile Communication, Broadband และ Fixed Voice สูงสุดตามลำดับ
  • ค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านบริการ ICT ใหม่ 15.0%
  • ค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านบริการให้คำปรึกษา 14.3%
  • ในการใช้บริการ Managed Services มีการใช้งานในส่วนของ Application สูงสุด ตามมาด้วย Hosting & Data Center, Security & Privacy, Systems Integration และ Desktop & User Support ตามลำดับ

3. เตรียมพร้อมนำ IoT มาใช้ เปิดช่องทางการรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย สู่การรักษาในเชิงรุกจากทุกที่ทุกเวลา

เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ก็เป็นอีกกลุ่มเทคโนโลยีที่อุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุขให้ความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการนำ Sensor หรือ IoT ไปใช้ปรับปรุงโรงพยาบาลเพื่อให้สามารถทำงานได้แบบ Touchless ลดความเสี่ยงให้กับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย, การนำหุ่นยนต์มาใช้ในการบริการรับส่งอุปกรณ์การแพทย์หรือสิ่งของต่างๆ แก่ผู้ป่วย ไปจนถึงการประยุกต์ใช้ Wearable Device เพื่อติดตามข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยและผู้กักกันตัวโดยอัตโนมัติ ที่จะนำไปสู่ภาพของการรักษารูปแบบใหม่ในอนาคต เช่น Predictive Care, Preventive Care หรือแม้แต่ Personalized Medication ก็ตาม

นอกเหนือจากการที่อุตสาหกรรมนี้จะมีการประยุกต์ใช้งาน IoT รูปแบบใหม่ๆ ที่หลากหลายแล้ว การพิจารณาระบบโครงข่ายเพื่อรองรับอุปกรณ์ IoT เหล่านี้ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญ เพราะการเลือกใช้ระบบโครงข่ายที่เหมาะสมและตอบโจทย์ได้นั้นกจะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการต่อยอดเทคโนโลยีในระยะยาว

รายงาน Enterprise ICT Investment Trends 2021 Healthcare Sector ได้เผยผลสำรวจของการเลือกใช้เทคโนโลยีโครงข่ายสำหรับ IoT ดังนี้

  • ในปัจจุบัน มีการเลือกใช้ Public LTE/5G มากที่สุดด้วยสัดส่วน 82% และใช้งาน Private LTE/5G ที่ 62% ตามมาด้วย Short Range, Satellite, Wireline, LoRa, NB-IoT, eMTC และ Sigfox ตามลำดับ
  • สำหรับในอนาคต 2 ปีนับถัดจากนี้ ทุกเทคโนโลยีข้างต้นจะยังคงถูกใช้งานไปอย่างต่อเนื่อง แต่การลงทุนในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นนั้นจะเกิดขึ้นกับ LoRa, eMTC และ Sigfox

สำหรับประเทศไทยที่มีความพร้อมของเทคโนโลยี 5G สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลกทั้งในแง่ของความเร็วและพื้นที่ครอบคลุมนั้นก็อาจมีแนวโน้มที่ต่างออกไป ซึ่งที่ผ่านมาในประเทศไทยก็มีการทดสอบใช้งาน 5G ในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยในทางการแพทย์ ก็ได้มีการทดสอบการผ่าตัดระยะไกลผ่านโครงข่าย 5G, โครงการในการใช้ NB-IoT สำหรับติดตาม Smart Wearable Device ไปจนถึงการเชื่อมต่อรถพยาบาลหรือการออกหน่วยสาธารณสุขมากมาย

4. การเสริมประเด็นด้าน Cyber Security และ Data Privacy สำหรับระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลและการปกป้องข้อมูลผู้ป่วย

สุดท้าย เมื่อมีการใช้งานเทคโนโลยีอย่างหลากหลายภายในอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุข ประเด็นด้านการปกป้องรักษาความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวก็ได้รับความสำคัญสูงยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับบริการทางการแพทย์ และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยที่มาใช้บริการสาธารณสุข

แรงขับเคลื่อนหลักที่ทำให้ประเด็นด้าน Cyber Security ได้รับความสำคัญขึ้นมานั้นก็มาจากการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลที่เพิ่มขึ้น และการใช้งาน Cloud ที่มากขึ้น รวมถึงข่าวสารด้านการเจาะโจมตีระบบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ทำให้อุตสาหกรรมนี้ในประเทศไทยก็ตื่นตัวกันมากขึ้นเช่นกัน

ในขณะที่แรงขับเคลื่อนหลักทางด้าน Data Privacy นั้นเกิดขึ้นจากการประกาศพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เคยกำหนดวันบังคับใช้แล้วในปี 2020 ที่ผ่านมา แต่ต้องถูกเลื่อนมาปี 2021 และถูกเลื่อนอีกครั้งไปยังปี 2022 จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งก็ทำให้หน่วยงานแต่ละแห่งมีโอกาสได้ทำการศึกษาและวางแผนตอบรับต่อข้อกฎหมายนี้ได้อย่างรัดกุมยิ่งขึ้น

ตัวอย่างโครงการระบบ Digital Health จาก AIS Business ที่เกิดขึ้นจริงแล้วในประเทศไทย

AIS Business พร้อมเป็นผู้ช่วยในการขับเคลื่อนระบบ Digital Health ให้กับอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุขทั่วไทย ทั้งด้วยเทคโนโลยี 5G, Cloud, AI และทีมงานวิศวกรผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาออกแบบระบบร่วมกันอย่างใกล้ชิด โดยสำหรับหน่วยงานที่กำลังมองหาเทคโนโลยี IoT สำหรับการแพทย์ ทาง AIS IoT ก็พร้อมนำเสนอเทคโนโลยีที่ครอบคลุมในทุกระดับชั้นของการสร้างสรรค์นวัตกรรม ดังนี้

  1. Hardware เช่น อุปกรณ์ Sensor ในรูปแบบต่างๆ, ชุดพัฒนา IoT (Development Kit), และ eSIM เพื่อรองรับการนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นโซลูชั่น IoT ตามที่ต้องการ รองรับการเชื่อมต่อเครือข่ายได้หลายรูปแบบ
  2. Connectivity สำหรับการใช้งานอุปกรณ์ IoT ทั้งระบบโครงข่ายมีสาย และไร้สาย อาทิ NB-IoT/eMTC, 3G/4G, 5G, Fibre และการออกแบบเครือข่ายเฉพาะหรือ Corporate APN พร้อมตอบทุกโจทย์การเชื่อมต่อระบบ IoT เข้ากับเครือข่าย
  3. Platform สำหรับการบริหารจัดการการเชื่อมต่อ, การจัดเก็บรวมรวมข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT และระบบสำหรับการพัฒนา IoT Application พร้อมให้นำไปใช้งานได้โดยไม่ต้องพัฒนาและดูแลระบบ IT Infrastructure เบื้องหลังด้วยตนเอง
  4. IoT Solutions โซลูชันสำเร็จรูปพร้อมใช้งาน เช่น Vehicle Management สำหรับบริหารจัดการรถพยาบาล, Car Telematics สำหรับติดตามสภาพรถพยาบาล, Smart Asset Management สำหรับติดตามอุปกรณ์ทางการแพทย์และเครื่องมือต่างๆ ที่ต้องใช้งาน และอื่นๆ อีกมากมาย

ที่ผ่านมา ทาง AIS Business ได้เข้าไปมีส่วนในการผลักดันการใช้งาน IoT ในอุตสาหกรรมนี้ด้วยกันหลายครั้ง โดยหนึ่งในโครงการที่มีความโดดเด่นก็คือ Digital Yacht Quarantine (2) ที่เกิดจากความร่วมมือของ AIS, สำนักงานส่งเสริมธุรกิจดิจิทัล (depa), บจ.พีเอ็มเอช โฮลดิ้ง (POMO) และกลุ่มผู้ประกอบการบริหารจัดการท่าเรือและสมาคมเรือยอชต์ไทย ในการใช้เรือยอชต์เป็นพื้นที่กักกันตัวนักเดินทางไปพร้อมๆ กับการสร้างประสบการณ์ในการท่องเที่ยวที่ดีท่ามกลางวิกฤต ด้วยการนำ Smart Tracking Wristband ที่เชื่อมต่อกับ NB-IoT ตรวจวัดสุขภาพของผู้ใส่ ติดตามข้อมูลสุขภาพของผู้กักกันตัวตลอดช่วงเวลา 14 วันเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรค ในขณะที่ยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไปด้วยอีกทางหนึ่ง

ผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถศึกษาข้อมูลได้ที่ https://www.ais.th/business/enterprise/technology-and-solution/5G-and-iot

โรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารณสุขไทย จะเริ่มต้นทำ Digital Transformation ได้อย่างไร?

สำหรับโรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารสุขไทยที่มีแผนด้านการทำ Digital Transformation สามารถเริ่มต้นเพื่อความสำเร็จในระยะยาวได้ด้วย 3 แนวทางดังนี้

1. การกำหนดเป้าหมาย ลำดับความสำคัญ และกลยุทธ์ในการทำ Digital Transformation

สำหรับปี 2022 นี้ แต่ละโรงพยาบาลและหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขนั้นย่อมผ่านการทำ Digital Transformation กันไปบ้างแล้วไม่มากก็น้อย เพื่อเร่งปรับตัวในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ในระยะยาวนั้นการวางแผนด้านการทำ Digital Transformation ให้สอดคล้องต่อเป้าหมายที่แตกต่างกันของแต่ละองค์กรนั้นก็จะกลายเป็นโจทย์สำคัญในการดำเนินงานเป็นเวลา 10 ปีนับถัดจากนี้

สิ่งที่แต่ละองค์กรต้องทำนั้นก็คือการกำหนดเป้าหมายในระยะยาวที่ต้องการ พร้อมจัดลำดับความสำคัญของแต่ละเป้าหมายให้องค์กรมีทิศทางที่ชัดเจนต่อการทำ Digital Transformation และวางแผนการลงทุนให้สอดคล้องต่อช่วงเวลาและงบประมาณที่มี รวมถึงกำหนดกลยุทธ์ในการทำ Digital Transformation ให้เหมาะสมต่อทรัพยากรที่มีอยู่ รวมถึงทำการวางแผนในรายละเอียดปลีกย่อยสำหรับแต่ละแผนกเพื่อให้เห็นภาพของการดำเนินโครงการที่แม่นยำ

แน่นอนว่าสำหรับหลายโรงพยาบาล การวางแผนด้านการรักษาและติดตามผู้ป่วยระยะไกลให้ได้นั้นย่อมกลายเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่จะได้รับความสำคัญสูงสุด เพื่อให้แต่ละแผนกภายในโรงพยาบาลนั้นยังคงทำการรักษาผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องไม่ว่าสถานการณ์โรคระบาดจะเป็นอย่างไร ในขณะที่การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยลดภาระหน้าที่การทำงานของแพทย์และพยาบาลนั้นก็เป็นอีกโจทย์สำคัญที่จะช่วยให้การรับมือกับวิกฤตครั้งนี้เป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคงมากยิ่งขึ้น ในขณะที่การนำอุปกรณ์ IoT หรือ Wearable Device มาใช้ในโรงพยาบาลนั้นก็จะยังคงเป็นสิ่งที่แต่ละโรงพยาบาลหรือแต่ละแผนกยังคงต้องศึกษาและทดลองกันต่อไป

2. การเตรียมระบบ IT Infrastructure และศึกษาโครงข่าย 5G ให้พร้อม

การปรับปรุงระบบ IT Infrastructure ขนานใหญ่เพื่อให้รองรับต่อการรักษาในอนาคตและสร้างความเป็นไปได้ในการเปิดโรงพยาบาลสนามหรือจุดรักษาเฉพาะกิจให้ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายนั้นก็จะยังคงเป็นอีกโจทย์สำคัญ รวมถึงการวางระบบเครือข่ายเพื่อรองรับการรักษาทางไกลในอนาคตที่อาจเปิดให้แพทย์สามารถทำการพูดคุยตรวจรักษาหรือให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยจากภายนอกโรงพยาบาลได้นั้นก็จะเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งอาจต้องลงทุนเพิ่มเติมในระบบ Cloud, SD-WAN, Wi-Fi และ Video Conference

นอกจากนี้ สำหรับโรงพยาบาลที่มีแผนการนำเทคโนโลยี  IoT และ Wearable Device มาใช้งานในอนาคตสำหรับสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการติดตามและรักษาผู้ป่วย หรือการวางระบบ Smart Hospital การศึกษาแนวทางการนำ 5G ในรูปแบบต่างๆ มาใช้เพื่อทำความเข้าใจถึงศักยภาพที่แตกต่างกันออกไป และเลือกใช้งาน 5G ในแต่ละโครงการได้อย่างเหมาะสมทั้งสำหรับการใช้งานภายในโรงพยาบาลและการติดตามผู้ป่วยถึงที่บ้านนั้นก็เป็นอีกสิ่งจำเป็นที่ต้องเร่งดำเนินการในปี 2022 นี้

3. การวางแผนเตรียมบุคลากรให้พร้อม

สุดท้าย การวางแผนด้านบุคลากรนั้นก็ถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำให้โครงการ Digital Transformation ใดๆ ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งท่ามกลางภาวะที่บุคลากรทางการแพทย์กำลังขาดแคลนอยู่นี้ ก็ได้ทวีความกดดันให้กับโรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารณสุขเป็นอย่างมาก

ด้วยเหตุนี้ นอกจากการวางแผนเพื่อเสริมทักษะให้กับบุคลากรภายในองค์กรในการดำเนินโครงการแล้ว การมองหา Partner ที่มีความพร้อมอย่างเช่น AIS Business เข้ามาช่วยก็จะเป็นอีกปัจจัยที่จะช่วยให้โครงการด้านการทำ Digital Transformation ประสบความสำเร็จได้มากขึ้น รวมถึงการเปิดรับบุคลากรในตำแหน่งใหม่ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทางด้านดิจิทัลเข้ามาเสริม ก็จะช่วยให้การปรับเปลี่ยนนำเทคโนโลยีมาใช้ และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เป็นไปได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

สนใจเทคโนโลยี Digital Health ติดต่อทีมงาน AIS Business ได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจใช้งานเทคโนโลยี Digital Health หรือการนำเทคโนโลยีไปใช้งานภายในธุรกิจโรงพยาบาลและสาธารณสุข สามารถติดต่อทีมงาน AIS Business ได้ทันที

วันที่เผยแพร่ 17 กุมภาพันธ์ 2565

Reference

  • Enterprise ICT Investment Trends 2021 Healthcare Sector, Global Data (GD0401CI)
  • "ดีป้า" จับมือ เอไอเอส และเครือข่ายพันธมิตรภูเก็ต รวมพลังฟื้นท่องเที่ยวไข่มุกอันดามัน เปิดโครงการกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์ “Digital Yacht Quarantine” ด้วย NB-IoT และสายรัดข้อมืออัจฉริยะ" ที่มา: https://business.ais.co.th/smart-digital-insights/digital-yacht-quarantine.html

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ 

สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล 
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที