5 หัวข้อสำคัญสำหรับ CEO ในยุค Next Normal

              ในสถานการณ์โรคระบาดที่กำลังเกิดขึ้น ธุรกิจจำนวนมากเกิดการปรับตัว (และส่วนมากประสบผลสำเร็จ) ในการปรับใช้รูปแบบการทำงานแบบใหม่ ซึ่งรวมถึงการปรับใช้ระบบดิจิทัล และการปรับเปลี่ยนการบริหารองค์กร และห่วงโซ่อุปทานในรูปแบบใหม่ แต่เพียงเท่านั้นคงยังไม่เพียงพอ ผู้นำองค์กรยังต้องการ การเตรียมตัวสำหรับโลกในยุคหลังโควิด-19 อีกด้วย ไม่ใช่เพียงแค่ปรับปรุงการดำเนินงานประจำวันเท่านั้น แต่ยังต้องมีความพร้อมและความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะ "คิดใหม่" ในการดำเนินงาน และความหมายในการดำรงอยู่ขององค์กร เสมือนการถอยหลังออกมา 1 ก้าว แล้วมององค์กรของตนในวิสัยทัศน์ที่ต่างออกไป

              สถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้นนั้น ทั้งเป็นตัวเร่ง และเปิดเผยให้เห็นแนวโน้มต่างๆ ที่เกิดขึ้น และจะมีผลต่อรูปแบบของอนาคตที่ตามมา ซึ่ง Mckinsey ได้รวบรวม 5 หัวข้อหลักๆ จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารองค์กรต่างๆ ซึ่งเป็นเสมือนแนวทางหลักที่ผู้บริหารเหล่านั้นใช้กำหนดทิศทางของอนาคต ไว้ดังนี้

  1. สร้างกลยุทธ์เพื่อความยั่งยืน ธุรกิจสามารถทำให้ความยั่งยืนเกิดขึ้นได้จริง มิใช่เพียงข้อความกล่าวอ้างลอย ๆเท่านั้น เช่น ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ปรับการทำงานให้มีการสูญเสียน้อย ลงทุนในเทคโนโลยีที่รักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และกำหนดพันธกิจขององค์กร ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต ให้สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว
  2. ปรับเปลี่ยนไปใช้ระบบคลาวด์ (cloud systems) เทคโนโลยีระบบคลาวด์ ได้ถูกกล่าวถึงมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว แต่ในปัจจุบัน ศักยภาพของระบบคลาวด์ยิ่งเห็นได้เด่นชัดมากขึ้นว่าสามารถสร้างมูลค่าได้ในการใช้งานจริง โดยเปิดโอกาสให้องค์กรสามารถสร้างระบบที่ทั้งมีความเร็วสูง และขยายขนาดได้ง่าย ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการก่อเกิดนวัตกรรมใหม่ๆในอนาคต มีการประมาณการกันว่า มูลค่าของระบบคลาวด์ อาจเพิ่มสูงถึง 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในปี ค.ศ. 2030 และผู้ที่สามารถนำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้เป็นประโยชน์ได้ก่อน ย่อมเป็นผู้นำในส่วนแบ่งตลาด
  3. บ่มเพาะความสามารถเฉพาะบุคคล ความสามารถเฉพาะบุคคล (Talent) เป็นทรัพยากรที่สำคัญ และองค์กรชั้นนำต่างดำเนินการเป็นตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรมแล้วในการฝึกฝน และมอบอำนาจให้แก่ทีมที่มีขนาดเล็กลง คำนึงถึงทักษะของบุคคลมากกว่าลำดับชั้นการบังคับบัญชา และปิดช่องโหว่ในความสามารถของบุคคลผ่านกระบวนการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร ซึ่งโดยแท้แล้ว การสร้างความพึงพอใจและประสบการณ์ที่ดีให้แก่พนักงาน จะสร้างผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นอีกมาก
  4. ให้ความสำคัญกับความรวดเร็ว หลักเลี่ยงไม่ได้ว่า สถานการณ์โรคติดต่อเป็นแรงกดดันให้หลายองค์กรต้องปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ซึ่งไม่ใช่เพียงการปรับเปลี่ยนให้สำเร็จ แต่ต้องทำให้ความรวดเร็วคล่องตัวนั้นเป็นไปอย่างยั่งยืนได้ โดยการออกแบบองค์กรให้คำนึงถึงความรวดเร็ว คล่องตัว ลงทุนในเทคโนโลยีที่สนับสนุนการทำงานร่วมกัน (collaboration), การคาดการณ์ล่วงหน้าถึงความต้องการของตลาดและลูกค้า และการมุ่งผลสำเร็จในการทำงาน เป็นต้น
  5. ดำเนินกิจการด้วยความมุ่งมั่น ปฏิเสธไม่ได้ว่า พนักงานย่อมต้องการที่ทำงานที่มองเห็น "เป้าประสงค์" (Purpose) ที่ชัดเจน และอาจจะลาออกหรือเปลี่ยนงาน หากพบว่าองค์กรอาจไม่สอดรับกับความประสงค์ของตนได้ ผู้คนจึงมุ่งหมายให้องค์กรสร้างสรรค์ประโยชน์ มากกว่าเพียงสร้างผลกำไรให้แก่ผู้ถือหุ่นเท่านั้น

              จากบทเรียนในการดำเนินธุรกิจดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นที่มาของการปรับตัวที่เกิดขึ้นจริงกับธุรกิจในปัจจุบันที่เห็นได้ชัดเจน และเป็นตัวอย่างที่น่าศึกษาอยู่จำนวนมาก ผู้เขียนขอยกตัวอย่างที่สำคัญและเห็นได้ชัดเจนพอสังเขป

ตัวอย่างการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลที่สำคัญและน่าศึกษา

  1. Adobe เมื่อพูดถึงชื่อ Adobe หลายคนคงนึกถึงเอกสารแบบ PDF หรือซอฟต์แวร์ตกแต่งภาพชื่อดังอย่าง Photoshop ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเลย เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Adobe กระโจนเข้าสู่การเป็น Software Service ทำให้ระบบดังกล่าวกลายเป็นของที่ขาดไม่ได้ขององค์กรทั้งใหญ่และเล็กไปในทันที 

Adobe ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1982 เพื่อสร้างซอฟต์แวร์เฉพาะทางสำหรับธุรกิจ เช่น ธุรกิจสิ่งพิมพ์ ซอฟต์แวร์ตกแต่งแก้ไขภาพหรือวิดีโอ โดยใช้การขายแบบ License-based (ขายสัญญาอนุญาตการใช้ซอฟต์แวร์แบบจ่ายครั้งเดียว) โดยจัดจำหน่ายในรูปแบบ CD เป็นหลัก แต่ในปี 2008 เมื่อเกิดการทรุดตัวของเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ตลาดการเงินฝืดเคืองอย่างมาก Adobe จึงจำเป็นต้องหาทางรอด โดยการตัดสินใจเสี่ยงครั้งใหญ่ ในการเปลี่ยนจาก license-based เป็น cloud-based โดยจัดจำหน่าย "ชุด"บริการในชื่อ Creative Cloud, Document Cloud และ Marketing Cloud
ในระยะเวลา 5 ปีจากการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ของ Adobe ราคาหุ้นพุ่งสูงขึ้นกว่าสามเท่า รายรับรวมไต่ระดับจากเลข 1 หลัก (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เป็นเลข 2 หลักเป็นครั้งแรก และรายรับประจำ (recurring revenue) ไต่ระดับจาก 19% ในปี 2011 กลายเป็น 70% ในปี 2015

2. บริการรับส่งอาหารและสินค้าในประเทศไทย (Food and Other Delivery) หลังประกาศคณะรัฐมนตรีฯ ที่จำกัดการให้บริการร้านอาหาร โดยห้ามการรับประทานในร้าน ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมไปอย่างมากมาย โดยหันมาใช้ บริการสั่งอาหารและสินค้า ผ่านแอปพลิิเคชั่น เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว รวมทั้งรายได้ของผู้ขับขี่ยานพาหนะรับส่งอาหารและพัสดุ (rider) เพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งเป็นผลอย่างชัดเจนจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่สอดคล้องกับนโยบายของผู้ให้บริการลักษณะนี้พอดี นอกจากนั้น ผู้ให้บริการหลายรายยังเพิ่มมาตรการ รับ-ส่งสินค้าแบบไร้สัมผัส (contactless delivery) โดยเน้นให้ผู้ใช้บริการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ระบบบัตรเครดิต และระบบพร้อมเพย์ เป็นต้น และหากผู้ใช้บริการไม่สะดวกในการใช้บริการดังกล่าว บริษัทก็มีนโยบายให้ผู้ใช้บริการนำเงินที่ต้องชำระ ใส่ในซอง และวางในบริเวณที่รับ-ส่งอาหาร โดยรักษาระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1-2 เมตรขึ้นไป เป็นต้น

              เห็นได้ชัดว่า ข้อจำกัด และความจำเป็นในสถานการณ์ COVID-19 เป็นสิ่งที่เร่งการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลให้เร็วขึ้นอย่างชัดเจน จึงจำเป็นที่องค์กรจะต้องศึกษาความเป็นไปได้ต่างๆ ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ รวมทั้งปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้รวดเร็ว และปลอดภัยมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

              ในวันนี้หากองค์กรต้องการพาร์ทเนอร์ที่ให้คำแนะนำ และสนับสนุนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้พัฒนา และต่อยอดองค์กรธุรกิจของท่าน  AIS Business และ CSL เราคือผู้ให้บริการผลิตภัณฑ์และบริการหลากหลาย ที่สอดคล้องกับแนวคิด Digital Transformation ครบครัน พร้อมให้บริการทั่วประเทศ ทั้งในด้านโครงข่ายสื่อสารไร้สาย 5G AIS บริการอินเทอร์เน็ต ระดับผู้ใช้งานรายย่อย (Individual Internet Service - FTTx) และระดับองค์กร (Corporate Internet Service) เพื่อรองรับการใช้งานทางไกลสำหรับผู้ปฏิบัติงานแบบทุกที่ ทุกเวลา บริการคลาวด์ และศูนย์ข้อมูล (Cloud and Datacenter Services) หลายแห่ง ครอบคลุมทั้งพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่างๆ บริการโซลูชั่นระบบสารสนเทศและการสื่อสารครบวงจร (Turn-Key ICT Project) ที่ดูแลตั้งแต่การออกแบบ คัดเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสม ติดตั้ง และบริการหลังการขาย เช่น solution ระบบโรงงานอัตโนมัติ ระบบ Internet-of-Things (IoT) พร้อมศูนย์บริการสนับสนุน (Support Call-Center) ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน ไม่มีวันหยุด เพื่อให้องค์กรของคุณ พร้อมรับทุกการเปลี่ยนแปลง และมุ่งเติบโตไปพร้อมกัน

วันที่เผยแพร่ 3 กุมภาพันธ์ 2565

Reference

  • 3 Digital transformation examples to inspire your journey, https://blog.remesh.ai/3-key-case-studies-for-successful-digital-transformation    
  • Virus crisis fuels food delivery bonanza, https://www.bangkokpost.com/thailand/special-reports/1891370/virus-crisis-fuels-food-delivery-bonanza
  • What matters most? Five priorities for CEOs in the next normal, https://www.mckinsey.com/business-functions/strategy-and-corporate-finance/our-insights/what-matters-most-five-priorities-for-ceos-in-the-next-normal?cid=always-pso-fce-mip-mck-oth-2110-i4a&sid=61704c089263da2d20e12a67&linkId=137009905&fbclid=IwAR0C
    UM0NZ1yG7Kg8c8fVCZZQwJLatp1br_Y96ilYtkqmt7ddgN9T5T_Ssq4

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ 

สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล 
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที