AIS 5G Business is NOW : ความท้าทายของการนำ 5G ไปใช้ในทางธุรกิจและการออกแบบเครือข่ายรองรับ Cybersecurity

แม้ 5G จะเป็นเทคโนโลยีกำเนิดใหม่ แต่ก็ถูกออกแบบมาเพื่อทำงานผสานกับเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ อาทิ IoT, Cloud, AI  ได้อย่างสมบูรณ์​ ทั้งนี้เพื่อช่วยตอบโจทย์การให้บริการแอปพลิเคชัน หรือยกระดับขีดความสามารถของภาคธุรกิจ เช่น การใช้งานเทคโนโลยีในอุตสาหกรรม แต่รู้หรือไม่ว่าการนำ 5G ไปใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล สำหรับองค์กรหรือภาคอุตสาหกรรมนั้น ต้องพบกับความท้าทายอีกหลายประเด็นที่ต้องใส่ใจ เช่น ความมั่นคงปลอดภัย ภาพของการนำไปใช้ร่วมกับระบบ LAN, WLAN และ WAN ที่มีอยู่แล้ว หรือการพัฒนาเพื่อใช้ 5G อย่างไรให้เต็มความสามารถ และตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจได้อย่างเต็มที่ ในงาน AIS 5G Business is Now ได้มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขามาร่วมพูดคุยกันถึงไอเดียและความท้าทายในรูปแบบต่างๆ ซึ่งทีมงาน TechTalkThai ขอรวบรวมประเด็นสำคัญมาให้ติดตามกันในบทความนี้ครับ

คุณ Phuchong Charoensuk, Enterprise Product Marketing Specialist – AIS

ทุกท่านเริ่มตระหนักดีแล้วว่า 5G คือเทคโนโลยีทางเครือข่ายที่เป็นสื่อกลางในการนำส่งข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีความสามารถ 3 ด้านคือ

  • Enhanced Mobile Broadband (eMBB) – ปลดล็อกความเร็วในการส่งข้อมูลสูงกว่า 4G ถึง 20 เท่า ด้วยเหตุนี้เองแอปพลิเคชันที่ให้กำเนิดข้อมูลปริมาณมากนั้นจะสามารถแสดงศักยภาพได้สูงขึ้น เช่น วีดีโอสตรีมมิ่ง งานวิเคราะห์ข้อมูล และอื่นๆ
  • Ultra-reliable & Low Latency Communication (uRLLC) – ผลของการที่มีความหน่วง (latency) ต่ำอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้แอปพลิเคชันที่ต้องการความเชื่อถือได้และแม่นยำสูงสามารถเกิดขึ้นได้ เช่น การควบคุมรถยนต์อัจฉริยะ การผ่าตัดจากทางไกล หรือการทำงานกับระบบที่ต้องการตอบสนองอย่างฉับไวทันที
  • Massive Machine-type Communication (mMTC) – ความสามารถในการรองรับจำนวนของอุปกรณ์มากนี้ ทำให้การใช้งาน IoT จำนวนมากในระบบอัจฉริยะต่างๆ เกิดขึ้นได้จริง เช่น ในระบบ Smart City, Logistic และอื่นๆ 

AIS x Thailand A.I. University Consortium

5G เป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ต้องการการวิจัยและพัฒนา เพื่อหา Use Cases ที่ทำได้จริง และสอดคล้องกับโจทย์ความต้องการของธุรกิจของประเทศไทย ด้วยเหตุนี้เอง AIS ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการผนึกกำลังกับกลุ่มพันธมิตรจากมหาวิทยาลัยในการเสริมสร้างศักยภาพทางนวัตกรรมที่ต่อยอดบนโครงสร้างพื้นฐาน AIS 5G โดยในหัวข้อนี้ ผศ.ดร. Wanida Kanarkard จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น จะมาบรรยายให้เราฟังถึงความก้าวหน้าของงานวิจัย ในกลุ่มพันธมิตรของ 6 มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศประกอบด้วย ม.สงขลานครินทร์, KMITL, CMLK, ม.มหิดล จุฬาลงกรณ์ (Thailand  A.I. University Consortium) ที่อยู่บนโครงสร้างของ AIS 5G 

ผศ.ดร. Wanida Kanarkard – มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ตัวอย่างงานวิจัยที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ร่วมกับ AIS ในการนำ 5G ไปใช้เพื่อควบคุมรถ Folklift ในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานมีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานมากขึ้น หรือในงานของ Machine Learning ที่ทราบดีอยู่แล้วว่าความแม่นยำของระบบขึ้นกับปริมาณของข้อมูลด้วยเหตุนี้ โครงข่าย 5G ได้ช่วยเอื้ออำนวยให้ระบบวิเคราะห์พฤติกรรมของสุกรนั้นทำงานได้อย่างแม่นยำ ประโยชน์ก็คือสามารถทราบถึงสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตในฟาร์มเลี้ยงสุกร โดยงานนี้เป็นผลงานของทาง KMITL ที่พัฒนาขึ้น อีกตัวอย่างหนึ่งคือมหาวิทยาลัยมหิดลได้ประยุกต์ใช้ 5G กับแอปพลิเคชัน AI ด้านการแพทย์

ในส่วนของมหาวิทยาลัยขอนแก่นเอง จากสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของโควิด ทีมนักวิจัยได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อช่วยนำส่งยาในเขตปลอดเชื้อ เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ นอกจากนี้ยังมีการนำไปใช้ในระบบวิเคราะห์ภาพจากกล้องวงจรปิดเพื่อติดตามการใช้ชีวิตของผู้ป่วยที่มากักตัวด้วย หรือกรณีของนักศึกษาเองที่ไม่สามารถเข้ามาใช้งานสถานที่ของมหาวิทยาลัยได้ นานวันไปก็อาจจะห่างเหินจากบรรยากาศของความเป็นนักศึกษา ด้วยเหตุนี้จึงมีการสร้างโลกเสมือนของมหาวิทยาลัยให้นักศึกษาและผู้ปฏิบัติงานได้เข้ามาใช้งาน ทดแทนการขาดหายไปของบรรยากาศเหล่านั้น และทั้งหมดที่กล่าวมานี้ AIS 5G คือโครงสร้างพื้นฐานสื่อกลางสำคัญที่ยกระดับการใช้งานและนวัตกรรมในรั้วมหาวิทยาลัย ให้ก้าวทันกับเทคโนโลยีใหม่และเปิดโลกให้เยาวชนได้มีความคุ้นเคยกับการใช้งานโครงข่าย 5G ในอนาคต

AIS x TATA Consultancy Services (TCS)

คุณ Mehal Shah, Global Business Head for Clever Energy – TATA Consultancy Services

5G ยังเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยต่อยอดเทคโนโลยีต่างๆ สู่การทำการเปลี่ยนแปลงในระดับองค์กร  TATA Consultancy Services บริษัทผู้ให้คำปรึกษาและบริการในการช่วยธุรกิจให้เข้าสู่โลก Digital Transformation ซึ่งแน่นอนว่า 5G คือหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้การขับเคลื่อนองค์กรด้วยเทคโนโลยีนั้นเป็นไปได้อย่างมีคุณภาพ และในหัวข้อนี้เอง คุณ Mehal Shah ผู้ดำรงตำแหน่ง Global Business Head for Clever Energy ได้มารับช่วงการบรรยายในหัวข้อนี้

IoT และ 5G จะช่วยตอบโจทย์ของธุรกิจที่ท้าทาย เช่น เทรนด์ในการลดอัตราการปลดปล่อยคาร์บอนที่เริ่มถูกผลักดันอย่างจริงจัง นำมาจากสหภาพยุโรปที่มีการกำหนดอัตราการปลดปล่อยพลังงาน โดยเฉพาะกระบวนการผลิตสินค้าที่จะนำมาเข้ามาในสหภาพที่จะมีผลประโยชน์ทางการค้า ด้วยเหตุนี้เองผู้ผลิตจึงต้องหาทางที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาติดตามกระบวนการผลิตของตน ซึ่ง TCS เองเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ เชื่อว่าการใช้ IoT จะช่วยสร้างข้อมูลให้ธุรกิจสามารถติดตามระบบการผลิตได้ 

โดย TCS ยังนำเสนอโซลูชัน TCP IP2 หรือบริการ SaaS สำหรับสร้างตัวตนบนเสมือน (Digital Twins) และต่อยอดด้วยระบบ AI ที่ช่วยวิเคราะห์การทำงานได้ รวมถึง DigiFleet หรือโซลูชันวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อติดตามสถานภาพการทำงานและบริการจัดการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนทีมงานคุณภาพที่พร้อมให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพ ทั้งหมดนี้เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถตอบโจทย์ Green Energy ได้นั่นเอง แน่นอว่าการทำงานของ IoT ที่อยู่บนโครงข่าย 5G จะช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถบุกเบิกโอกาสใหม่ๆได้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

AIS x Cisco Systems

ในการนำเทคโนโลยี 5G ที่มีการออกแบบเฉพาะสำหรับธุรกิจหรือ Private 5G เริ่มมีให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ความท้าทายที่ซ่อนอยู่ก็คือการนำ 5G เข้าไปใช้ร่วมกับระบบเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น LAN, WAN และ WLAN คำถามคือภาพของ 5G จะผสานเข้ากับของเดิมอย่างไร ถึงจะสามารถบริหารจัดการ Policy และ Security ร่วมกันได้ ไม่สร้างความซับซ้อนมากขึ้น ในหัวข้อนี้ คุณ Taveewat Chantaraseno, Managing Director จาก Cisco Systems จะมาไขปัญหาข้อกังวลใจเหล่านี้

คุณ Taveewat Chantaraseno, Managing Director – Cisco Systems

การทำ Security มักจะเริ่มต้นมาจากความสามารถในการพิสูจน์ตัวตน (Authentication) และควบคุมสิทธิ์การใช้งาน (Authorization) ซึ่งไม่ว่าอุปกรณ์หรือ User จะผ่านเข้ามาจากเครือข่ายส่วนใด องค์กรจะต้องสามารถจัดการการเข้าถึงเหล่านั้นได้ ตรงจุดนี้เองโซลูชัน Cisco ISE จึงเข้ามาตอบโจทย์ให้ทุกการเคลื่อนไหวบน LAN, WAN, WLAN ของท่าน สามารถถูกบังคับใช้ด้วย Policy เดียวกัน 

อีกประเด็นคือปัญหาของการ Roaming โดยเพื่อให้การใช้งาน 5G ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของ Private 5G หรือ AIS 5G เกิดขึ้นได้เสมือนเป็นผืนเดียวกัน openRoaming จาก Cisco คือโซลูชันที่จะช่วยให้ Access Provider เช่น เจ้าของธุรกิจหรือสถานที่ ร่วมมือเข้ากับ Identity Provider หรือเจ้าของซิมเช่น AIS หรือผู้ผลิตมือถือ สามารถผสานการใช้งานของผู้ใช้เข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ นอกจากนี้ openRoaming ยังสามารถให้ข้อมูล insight เพื่อให้ธุรกิจทราบได้ว่าผู้เข้าใช้เครือข่ายในมีการ Roaming เป็นอย่างไร 

AIS x Palo Alto Networks

ดร. ธัชพล โปษยานนท์ ผู้อำนวยการของ Palo Alto Networks ประจำประเทศไทยและอินโดไชน่า

นมุมมองด้าน Security สำหรับภาคอุตสาหกรรม ดร.ธัชพล โปษยานนท์ ผู้อำนวยการของ Palo Alto Networks ประจำประเทศไทยและอินโดไชน่า ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโลกของภัยคุกคามในปัจจุบันว่าหลังการมาถึงของ 5G ที่จะช่วยให้เส้นทางของการผสานระบบ OT เข้ากับ IT เกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ แต่ Industry 4.0 ที่ประเทศไทยกำลังดำเนินไปนั้น จะตามมาซึ่งการเปิดเผยถึงพื้นผิวของการโจมตีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยเหตุนี้เองเพื่อเป็นการป้องกันเหตุการณ์ในอนาคตองค์กรจะต้องคิดเรื่องของ Cybersecurity ไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนจะสายเกินไป

โมเดลในการป้องกันของ NIST หรือมาตรฐานที่ได้การยอมรับในระดับสากล ชี้ว่าในการป้องกันภัยคุกคามองค์กรจะต้องมีความสามารถ 5 ด้านประกอบด้วย 

  • Identify – ความสามารถในการมองเห็นทราฟฟิคหรือกิจกรรมอันตรายในเครือข่าย 
  • Protect – เมื่อเห็นและรู้ถึงอันตรายแล้วจะป้องกันได้อย่างไร ให้เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
  • Detect – สามารถวิเคราะห์ภัยคุกคามที่ไม่รู้จักมาก่อน หรือมีความสามารถทำ baseline ให้พอจะทราบได้ว่าเหตุการณ์ไม่ปกติ เพื่อปิดช่องโหว่ได้ทัน โดย AI สามารถเข้ามาช่วยตรงจุดนี้ได้
  • Respond – ขณะเกิดเหตุขึ้นมาจริง จะบรรเทาความเสียหายหรือตอบสนองกับเหตุได้อย่างไร
  • Recover – หลังเกิดเหตุแล้วต้องสามารถปิดกันพื้นที่การโจมตีและกู้คืนข้อมูลกลับมาให้ได้

ด้วยเหตุนี้ในทางปฏิบัติสิ่งสำคัญที่องค์กรจะขาดไม่ได้ก็คือเรื่อง Visibility ที่มองเห็นภาพการโจมตี การวิเคราะห์เชิงลึกเชื่อมโยงข้อมูลได้จากทุกส่วน และบังคับใช้กลไกการป้องกันได้อย่างอัตโนมัติ ซึ่งสำคัญมากโดยเฉพาะกับระบบ OT ที่มีความสำคัญและส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ ท้ายที่สุดต้องมีการบริหารจัดการเป็นผืนเดียวกัน ด้วยเหตุนี้เอง Palo Alto Networks และ AIS Business จึงได้ผนึกกำลังกันเพื่อให้บริการความสามารถระดับศูนย์ SoC ด้วยโซลูชัน Cortex XDR และ Firewall as a Service ที่ดูแลโดยทีมงานมากประสบการณ์จาก AIS ทั้งนี้ในอนาคตเมื่อ OT และ IT ทำงานร่วมกันอยากแยกไม่ออก องค์กรของท่านจะมั่นใจได้ว่าสินทรัพย์ในระบบดิจิทัลของท่านจะได้รับการปกป้องอย่างดียิ่ง 

AIS x NTT Docomo

คุณ Atsushi Yamada,  Senior Manager, Global Business Division – NTT Docomo

การนำ 5G มาใช้กับธุรกิจในยุคปัจจุบันต้องอาศัยพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลาย ซึ่ง NTT Docomo คือผู้ผลิตและผู้ให้บริการโซลูชันด้านเครือข่ายชั้นนำระดับโลกจากญี่ปุ่น ที่สามารถให้บริการเครือข่าย Private 5G ให้แก่องค์กรได้อย่างครบวงจร โดยในหัวข้อนี้คุณ Atsushi Yamada,  Senior Manager, Global Business Division จาก NTT Docomo ได้มาบรรยายในหัวข้อนี้

สาระสำคัญของเนื้อหาคือการประกาศความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการโครงข่าย 5G ชั้นนำในโครงการ X-Border PF หรือการสร้างท่อตรงระหว่างโครงข่ายของ NTT Docomo มาสู่ AIS ซึ่งทำให้บริการ 5G ระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่นถูกเชื่อมต่อเข้าหากันอย่างไร้รอยต่อ ลองจินตนาการถึงแอปพลิแคชันที่สามารถทำงานบนเครือข่าย 5G ของทั้ง 2 เครือข่าย คงจะมีประโยชน์อย่างยิ่งกับธุรกิจที่ต้องการขยายการให้บริการในระดับสากล หรือในอนาคตท่านอาจได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญของระบบรถยนต์ผ่านทางไกลจากญี่ปุ่นเลยก็ได้ ซึ่งในงานสัมมนามีการสาธิตการทำงานข้ามประเทศระหว่างผู้ดูแลหน้างานคนไทยกับผู้ให้คำปรึกษาทางเทคนิคจากญี่ปุ่นบนเครือข่ายความร่วมมือ 5G 

สุดท้ายนี้ AIS 5G พร้อมให้ประสบการณ์และโอกาสใหม่ให้แก่ภาคธุรกิจแล้ว โดยหลายธุรกิจอาจมองเห็นโอกาสแล้วว่าจะเข้าถึงและเริ่มต้นกับ 5G ได้อย่างไร อย่างไรก็ดีหากท่านยังไม่แน่ใจว่า AIS 5G จะตอบโจทย์วิถีการทำงานของท่านหรือไม่ แม้กระทั่งยังไม่ทราบว่าจะมีเทคโนโลยีใดเกิดขึ้นจากโอกาสของ 5G ที่จะเข้ามาแก้ปัญหาของท่านได้ในอนาคต ทาง AIS Business มีความยินดีเป็นอย่างที่จะเป็นพันธมิตรของภาคธุรกิจให้ทุกองค์กรเข้ามาทดสอบหรือให้คำปรึกษา พูดคุยกันเพื่อนำกรณีศึกษาต่างๆ มาต่อยอดเพื่อให้เกิดแนวทางการแก้ปัญหาใหม่ๆให้แก่ผู้ประกอบการในทุกภาคส่วนในประเทศไทย

ผู้สนใจ AIS 5G และโซลูชันต่างๆที่มีร่วมกันกับทางพันธมิตร หรือสนใจนำงานวิจัยต่างมาใช้ในทางธุรกิจ สามารถติดต่อทีมงานของ AIS Business ได้ที่เว็บไซต์ Business.ais.co.th เฟสบุ๊ค AIS Business หรือ Line : AIS Business

วันที่เผยแพร่ 10 มกราคม 2565

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business