เกษตรดิจิทัล เคล็ดลับสู่เส้นชัยและความยั่งยืนของอุตสาหกรรมการเกษตร

              การนำกระบวนการ Digital Transformation เข้ามาปรับใช้กับอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อเปลี่ยนให้เป็น “เกษตรดิจิทัล” กำลังเป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เมื่อมองในภาพใหญ่มีการคาดการณ์ไว้ว่าเมื่อถึงปี 2050 ประชากรโลกจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 9.7 พันล้านคน จำนวนประชากรโลกที่มากขึ้นย่อมทำให้ความต้องการอาหารและที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อมองภาพเล็กลงมาในระดับสังคมก็จะเห็นว่าทั่วโลกและประเทศไทยเองมีแนวโน้มที่สังคมเมืองจะขยายตัวมากขึ้น นั่นทำให้พื้นที่ทางการเกษตรมีจำนวนลดลงไปพร้อม ๆ กับการลดลงของจำนวนผู้ประกอบอาชีพเกษตรกร อีกทั้งวิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัจจัยด้านต้นทุนในการดูแลพืชก็เพิ่มสูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมการเกษตรกำลังเผชิญกับความท้าทาย Digital Transformation จะมีบทบาทหรือส่วนช่วยอย่างไรในอุตสาหกรรมการเกษตรกันบ้าง มาติดตามกัน

Farmer Plantation checking quality by tablet agriculture modern technology Concept. Smart farming, using modern technologies in agriculture. Man agronomist farmer with digital tablet computer.

1.พัฒนาผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพ

              อุตสาหกรรมการเกษตรในวันนี้ จะมุ่งเน้นแต่ปริมาณการผลิตเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการไม่ได้อีกแล้ว NielsenIQ มีการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา พบว่าพฤติกรรมการซื้อและการบริโภคของคนในกลุ่ม Millennials กว่า 75% กำลังเปลี่ยนแปลงไป โดยผู้บริโภคในกลุ่มนี้จะซื้อหรือบริโภคอะไร จะเริ่มให้ความสนใจว่าสิ่งนั้น ๆ จะส่งผลกระทบในเชิงลบกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่[1] ถ้าผลิตภัณฑ์ไม่เป็นมิตรต่อโลกหรือสินค้าเกษตรเหล่านั้นไม่ได้เป็นผลิตผลที่เป็นเกษตรอินทรีย์ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพจริง ๆ ผู้บริโภคกลุ่มนี้พร้อมที่จะปฏิเสธสินค้านั้น ๆ ในทันที โดยเฉพาะสินค้าเกษตรด้วยแล้ว ผู้บริโภคกลุ่มนี้ดูจะให้ความพิถีพิถันและให้ความสำคัญไปมากกว่าการเป็นออร์แกนิคแท้ ๆ แล้วพฤติกรรมการซื้อและการบริโภคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในอเมริกา แต่กลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงผู้บริโภคในประเทศไทยด้วย

              ดังนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ Digital Transformation เข้ามาช่วยปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมเกษตรแบบดั้งเดิมให้กลายเป็นเกษตรดิจิทัล ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ เป็นเกษตรอินทรีย์ที่ดีต่อสุขภาพผู้บริโภคและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในมิติที่ลึกซึ้งขึ้น ซึ่งเกษตรดิจิทัลในแง่ของการพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นสามารถปรับใช้ได้ดังนี้

              1.1 ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล นำอุปกรณ์ที่มี Sensor มาใช้ตรวจวัดคุณภาพดิน สภาพของน้ำ อุณหภูมิ ความชื้น และปริมาณแสง จากนั้นก็ส่งข้อมูลที่วัดค่าได้กลับไปที่ Data Center ขององค์กร และใช้เทคโนโลยี AI ในการช่วยวิเคราะห์แปลงเกษตร ตรงนี้ก็จะช่วยทำให้ลดปัญหาการเกิดโรคพืชได้ ทำให้ได้ผลผลิตตรงตามที่ต้องการทั้งปริมาณและคุณภาพ นอกจากนั้นแล้วมีงานวิจัยจาก Markets and Markets บริษัทที่ให้บริการแพลตฟอร์มการวิจัยตลาดระดับโลกชี้ว่า อุตสาหกรรมเกษตรทั่วโลกจะหันมาใช้จ่ายลงทุนกับเทคโนโลยี AI และโซลูชันด้านเกษตรดิจิทัลมากขึ้น โดยการใช้จ่ายในเทคโนโลยีเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นจาก 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 เป็น 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2026[2] ตรงนี้สะท้อนว่าอุตสาหกรรมเกษตรทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ Digital Transformation เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไปสู่เกษตรดิจิทัลแบบเต็มตัว

              1.2 ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยควบคุมดูแลแปลงเกษตร ใช้อุปกรณ์ที่เป็น IoT อย่างโดรน หุ่นยนต์ เครื่องจักรกลเกษตร มาช่วยควบคุมดูแลแปลงเกษตรแทนแรงงานคน ตรงนี้ช่วยแก้ปัญหาการขาดแรงงานเกษตรกรในภาคอุตสาหกรรมเกษตรได้ อุปกรณ์ที่เป็น IoT เหล่านี้เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ดูแลจึงสามารถสั่งงานให้ทำกิจกรรมการเกษตรอย่างการรดน้ำ ใส่ปุ๋ยตามเวลาและปริมาณที่กำหนดได้ผ่านสมาร์ทโฟน โดยที่ผู้ดูแลไม่ต้องลงไปคลุกคลีด้วยตัวเอง

smart farm ,agriculture concept, farmer use data augmented mixed virtual reality integrate artificial intelligence combine deep, machine learning, digital twin, 5G, industry 4.0 technology to improve

2.เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ Supply Chain

              อุตสาหกรรมเกษตรในหลาย ๆ ประเทศได้มีการนำ Digital Transformation เข้ามาช่วยยกระดับอุตสาหกรรมให้ก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัลไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไม่เพียงอุตสาหกรรมเกษตรในโลกตะวันตกเท่านั้นที่ทำการ Digital Transformationปรับเปลี่ยนตนเองให้เป็นเกษตรดิจิทัล ประเทศเพื่อนบ้านของไทยในอาเซียนอย่างเวียดนาม ที่ถือว่าเป็นคู่แข่งสำคัญในตลาดอุตสาหกรรมเกษตรก็ได้ปรับตัวเข้าสู่การเป็นเกษตรดิจิทัลไปเรียบร้อยแล้วเช่นกัน มีรายงานว่าฮานอย เมืองหลวงของเวียดนาม มีการแบ่งพื้นที่ของเมืองสำหรับการทำเกษตรอุตสาหกรรมด้วย และที่นี่ได้ใช้โมเดลการทำเกษตรดิจิทัลมากถึง 164 รูปแบบ ช่วยให้ผลผลิตสินค้าเกษตรที่ได้มาจากการทำเกษตรดิจิทัล มีมูลค่าทางการตลาดสูงถึง 35% จากสินค้าการเกษตรทั้งหมดของเมือง

              ในขณะนี้ประเทศที่มีการทำเกษตรดิจิทัล ก็ได้มีการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ Supply Chain โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างระบบ Blockchain เข้ามาช่วยเพื่อให้อุตสาหกรรมเกษตรของตนเองมีความมั่นคงและยั่งยืน พร้อมที่จะปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงและก้าวไปสู่อนาคต โดยนำ Blockchain เข้ามาช่วยเชื่อมต่อผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเข้าหากัน ตั้งแต่ส่วนการผลิต ส่วนของการจัดเก็บสินค้าคงคลัง ส่วนของตลาด เจ้าหน้าที่รัฐ ส่วนของการขนส่งและผู้บริโภค จากสถิติพบว่าเทคโนโลยี Blockchain ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมเกษตร ปี 2017 มีมูลค่าทางการตลาดอยู่ที่ประมาณ 32.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการคาดการณ์กันว่าปี 2028 มูลค่าจะสูงขึ้นไปถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สะท้อนแนวโน้มว่านับจากนี้ไปเทคโนโลยีดิจิทัลและ Blockchain จะมีบทบาทและความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเกษตรเป็นอย่างมาก อาจเป็นสิ่งที่ชี้ชะตาอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศได้เลยทีเดียว

รูปประกอบจาก: statista.com

สำหรับการปรับใช้เทคโนโลยี Blockchain กับการเกษตรดิจิทัลนั้น ก็สามารถทำได้ดังนี้

              2.1 ใช้ตรวจสอบสินค้าหลังเก็บเกี่ยวและขนส่ง นำ Blockchain เข้ามาช่วยบริหารจัดการสินค้าหลังเก็บเกี่ยว อาจจะพัฒนาเป็นระบบตรวจสอบคุณภาพผลผลิต ที่ช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถตรวจสอบได้ว่าสินค้าที่ออกไปจากฟาร์มหรือแปลงเกษตรไปถึงคลังสินค้าหรือยัง สินค้าที่จัดเก็บในคลังสินค้าจัดเก็บอย่างถูกต้องหรือไม่ และจะหมดอายุเมื่อไหร่ สามารถกระจายสินค้าไปยังตลาดได้ตอนไหน ระหว่างสินค้าอยู่ในคลังหรือขนส่งไปแล้วหากเจ้าหน้าที่รัฐต้องการตรวจสอบสินค้าก็สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ จนกระทั่งสินค้าไปถึงมือผู้บริโภคอย่างสมบูรณ์ปลอดภัย

              2.2 ใช้สร้างช่องทางในการตรวจสอบสินค้าสำหรับผู้บริโภค นำ Blockchain เข้ามาช่วยสร้างแพลตฟอร์มในการตรวจสอบคุณภาพสินค้าสำหรับผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งแพลตฟอร์มนี้จะเป็นเครื่องมือที่ผู้บริโภคใช้ตรวจสอบได้ตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการเพาะปลูก วิธีการที่ใช้ในการเพาะปลูก อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอุตสาหกรรมเกษตร คุณภาพของน้ำที่ใช้ ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวผลผลิต การจัดเก็บสินค้า ไปจนกระทั่งถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการขนส่ง ซึ่งเครื่องมือนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภครู้สึกได้ถึงความโปร่งใสและความจริงใจของผู้ประกอบการ เมื่อผู้ประกอบการกับผู้บริโภคต่างเข้าใจกันและกันเป็นอย่างดี ก็จะทำให้ Supply Chain ในอุตสาหกรรมดำเนินไปตามกลไกอย่างที่ควรจะเป็น

Hand holding Tablet connected with Sensor network and read a report Agriculture technology agricultural field on background.

              เชื่อว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเกษตรของไทยคงเล็งเห็นความสำคัญและโอกาสที่เป็นไปได้จากเกษตรดิจิทัล เพราะนี่คือกุญแจสำคัญสู่เส้นชัยและความยั่งยืนในอุตสาหกรรม แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้น ก็ต้องกลับมาให้ความสำคัญกับจุดเริ่มต้น นั่นคือการทำ Digital Transformation ให้ธุรกิจพร้อมสำหรับการก้าวไปสู่ความเป็นดิจิทัล

              ทั้งนี้ AIS Business พร้อมที่จะสนับสนุนกลุ่มองค์กรธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมการเกษตรให้ก้าวไปสู่การเป็นองค์กรภาคการเกษตรอัจฉริยะโดยสมบูรณ์ ด้วยโซลูชัน Platform Intelligent iFarm ที่ตอบโจทย์ภาคการเกษตรยุคใหม่ โดยเชื่อมต่อกับระบบ Cloud และ IoT สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อยอด และทำการเกษตรแบบอัตโนมัติ เพื่อให้สามารถควบคุมคุณภาพผลผลิต และต้นทุน ก่อให้เกิดรายได้ที่ยั่งยืน หากท่านต้องการโซลูชันด้านการเกษตร สามารถปรึกษาทีมงาน AIS Business ได้ทันที

วันที่เผยแพร่ 9 มิถุนายน 2565

Reference

  1. Chirag, “How Blockchain Benefits Agriculture and Food Industry in Future”, From: https://appinventiv.com/blog/blockchain-in-agriculture-and-food-sector/
  2. Jack Uldrich, “Regenerative Agriculture: The Next Trend in Food Retailing”, From: https://www.forbes.com/sites/forbesbusinesscouncil/2021/08/19/regenerative-agriculture-the-next-trend-in-food-retailing/?sh=72dd7fad2153
  3. Markets and markets, “Artificial Intelligence in Agriculture Market”, From: https://www.marketsandmarkets.com/Market-Reports/ai-in-agriculture-market-159957009.html#:~:text=The%20overall%20AI%20in%20agriculture,25.5%25%20between%202020%20and%202026.
  4. Nielseniq, “Was 2018 the year of the influential sustainable consumer”, From: https://nielseniq.com/global/en/insights/analysis/2018/was-2018-the-year-of-the-influential-sustainable-consumer/
  5. Samaya Dharmaraj, “Hanoi Vietnam Aims to Develop Smart Agriculture”, From: https://opengovasia.com/hanoi-vietnam-aims-to-develop-smart-agriculture/
  6. Shehmir Javaid, “3 Ways Digital Transformation Improves Agriculture in 2022”, From: https://research.aimultiple.com/digital-transformation-in-agriculture/

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ 

สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล 
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที