อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อธุรกิจการผลิตเปลี่ยนแปลงสู่ Smart Manufacturing

              ขณะที่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทยกำลังเร่งปรับตัวไปสู่ก้าวแรกของการเป็นอุตสาหกรรม 4.0 ในหลายประเทศที่เป็นผู้นำด้านทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมก็ผลักดันอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศของตนให้ขยับไปอีกขั้น โดยใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วย เพื่อเปลี่ยนแปลงธุรกิจอุตสาหกรรมในประเทศให้เป็น Smart Manufacturing ซึ่งก็คือการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้กับระบบนิเวศการผลิตทั้งหมดในองค์กร เพื่อการทำงานที่ราบรื่นและการตัดสินใจทางธุรกิจที่รวดเร็วมากขึ้น ซึ่งดูเหมือนว่าการผลิตอัจฉริยะนี้กำลังเป็นแนวโน้มใหม่ที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลกกำลังจะมุ่งไป จึงน่าสนใจว่าถ้าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้อุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไปสู่ Smart Manufacturing กันเกือบทั้งหมด โฉมหน้าของธุรกิจการผลิตจะเป็นอย่างไร

ระบบนิเวศการผลิตที่แข็งแกร่งและยืดหยุ่น

              เป็นไปได้มากว่า Smart Manufacturing จะเข้ามาทลายอุปสรรคและข้อจำกัดที่เคยมีมาแต่เดิมในระบบนิเวศการผลิต พร้อมแทนที่ด้วยระบบนิเวศการผลิตที่มีความแข็งแกร่ง ยืดหยุ่น และปรับตัวมากขึ้น ซึ่งระบบนิเวศการผลิตจัดว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในภาคอุตสาหกรรมการผลิต เพราะเกี่ยวข้องกับเรื่อง Demand และ Supply ตัวอย่างในเรื่องนี้เห็นได้ชัดเจนมากในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด 19 ที่ผ่านมา ที่ทำให้เกิดวิกฤตขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์และเครื่องช่วยหายใจ ปัญหานี้เกิดขึ้นทั่วโลก ในสหรัฐอเมริกาภาครัฐได้มีการขอความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ให้เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา โดยให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ประสานการทำงานกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อช่วยกันในการผลิตเครื่องช่วยหายใจกว่า 200,000 เครื่องให้ทันภายในช่วงสิ้นปี 2020 ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์จึงต้องเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศการผลิตของตนเอง และสร้างระบบนิเวศการผลิตแบบชั่วคราวขึ้นมาใช้ เพื่อให้สนองตอบต่อการความต้องการที่สูงในขณะนั้นให้ทัน

              เมื่อถอดบทเรียนจากสถานการณ์ที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า หากภาคอุตสาหกรรมการผลิตทั้งสองมีระบบนิเวศที่ไม่ทันสมัย และไร้ซึ่งความยืดหยุ่น กรณีเกิดวิกฤตฉุกเฉิน มีความต้องการในตลาดสูง อุปสงค์และอุปทานไม่สมดุลดังเช่นที่ผ่านมาอีกครั้ง ก็จะสร้างปัญหาให้กับผู้ประกอบการไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะการเชื่อมต่อระบบการผลิตที่แตกต่างกันนั้นมีความซับซ้อนมากพอสมควร การจะทำให้ระบบการผลิตของสององค์กรเชื่อมเข้าหากันจึงจำเป็นที่จะต้องมีเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ เข้ามาเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยง จากวิกฤตในลักษณะดังที่กล่าวมาจึงเป็นไปได้ว่า จะเป็นปัจจัยที่เร่งให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตรายใหญ่ ๆ ทั่วโลกต้องทบทวนทิศทางและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การดำเนินงาน หันมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงตนเองไปสู่การเป็น Smart Manufacturing มากขึ้น อันจะทำให้ในอีกไม่ช้าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตชั้นนำระดับโลกจะสามารถสร้างระบบนิเวศการผลิตที่แข็งแกร่ง ยืดหยุ่นและคล่องตัวให้กับองค์กรของตนเองได้สำเร็จ ทำให้ธุรกิจพร้อมสำหรับการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดได้เป็นอย่างดี

              เกิดการผลิตอัจฉริยะที่ปลอดภัยและยั่งยืนสิ่งที่น่าสนใจอีกประการก็คือ Smart Manufacturing จะเข้ามาช่วยทำให้เกิด “กระบวนการผลิตอัจฉริยะ” ที่ทำให้การผลิตเกิดความปลอดภัยมากขึ้น สามารถที่จะสร้างความยั่งยืนในแง่ของลดการใช้ทรัพยากรหรือลดการใช้พลังงานได้มากขึ้น เช่น

AI/Machine Learning

              AI ถือว่าเป็นมันสมองของเครื่องจักรการผลิตและระบบอัตโนมัติต่าง ๆ โดยพื้นฐานเครื่องจักรการผลิตและระบบอัตโนมัติก็จะทำหน้าที่แทนมนุษย์ในการทำงานในขั้นตอนที่ยากและเสี่ยงอันตรายอยู่แล้ว ยิ่งมีการเสริมประสิทธิภาพเครื่องจักรการผลิตและระบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี AI ที่สามารถเรียนรู้ขั้นตอนและจดจำรูปแบบกระบวนการใหม่ ๆ ที่ซับซ้อนมากขึ้นได้ดีกว่ามนุษย์ ทำให้สามารถลดความผิดพลาดในการผลิตและสร้างมาตรฐานที่ดีให้กับสินค้าได้ เมื่อความผิดพลาดน้อยลงก็ช่วยลดการใช้วัตถุดิบและวัสดุต่าง ๆ ลงไป ทำให้ไม่สิ้นเปลืองทั้งทรัพยากรและพลังงาน เป็นการช่วยลดต้นทุนธุรกิจไปด้วยในตัว

AR/VR & Digital Twins

              AR/VR & Digital Twins แม้ทั้งสองเทคโนโลยีนี้จะมีความแตกต่างกัน แต่การนำมาใช้งานสำหรับภาคอุตสาหกรรมก็ดูจะคล้ายคลึงกัน และอาจจะจัดอยู่ในกลุ่ม Solution เทคโนโลยีโลกเสมือนร่วมกันได้ ทั้งสองเทคโนโลยีนี้มีบทบาทกับภาคอุตสาหกรรมไม่น้อยในช่วงที่ผ่านมา เพราะตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโควิด 19 ภาคอุตสาหกรรมการผลิตก็ได้นำ Solution เทคโนโลยีทั้งสองรูปแบบนี้มาใช้งานเพิ่มขึ้น และยิ่งมีโครงข่ายที่มีประสิทธิภาพอย่าง 5G เข้ามาเป็นกลไกในการเชื่อมต่อกับระบบ ทำให้เทคโนโลยีในเชิงโลกเสมือนเหล่านี้ตอบสนองได้เร็วขึ้น มีความแม่นยำมากขึ้น และสร้างประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมการผลิตได้มากมาย ตั้งแต่

  • Remote Monitoring พื้นที่การผลิตในบางอุตสาหกรรมอาจเป็นพื้นที่ปิด เนื่องจากขั้นตอนการผลิตมีความอันตรายจากสารเคมี ความร้อน หรือต้องการให้ไร้การปนเปื้อนแบบ 100% ผู้ประกอบการหรือหัวหน้างานสามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เข้าไปช่วยในการตรวจสอบประสิทธิภาพการผลิตได้จากระยะไกล โดยไม่ต้องลงไปตรวจสอบด้วยตัวเอง จึงช่วยเพิ่มความปลอดภัยและประหยัดเวลาเพิ่มขึ้น
  • Remote Maintenance สามารถใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่การฝึกอบรมพนักงานและเจ้าหน้าที่เฉพาะทาง ที่จะต้องปฏิบัติงานในการดูแลหรือซ่อมบำรุงเครื่องจักรการผลิต โดยการใช้ซอฟต์แวร์สร้างแบบจำลองเสมือนจริงของเครื่องจักรการผลิตขึ้นมา แล้วนำมาใช้เป็นแบบฝึกหัดในการดูแลหรือซ่อมบำรุงเครื่องจักร หรือจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับเครื่องจักรการผลิตผ่านโลกเสมือนจริง รวมไปถึงการใช้ในการดูแลซ่อมบำรุงเครื่องจักรในการผลิตจริง ๆ จากระยะไกล โดยที่ไม่ต้องลงไปที่หน้างานทุกครั้ง ช่วยให้ธุรกิจการผลิตลดค่าเสีย โอกาสจากปัญหาเรื่องเครื่องจักรหยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุได้

Cloud Infrastructure

              อุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่จะมีเครือข่ายโรงงานผลิตที่เป็น Supplier มากมาย ในบางธุรกิจมีโรงงานการผลิตเป็นพันแห่งทั้งในและนอกประเทศ คาดว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านับจากนี้ เทคโนโลยี IoT จะหลอมรวมกับเครื่องจักรการผลิตจนกลายเป็น IIoT โดยสมบูรณ์แบบ ซึ่งข้อมูลที่ได้จาก IoT Sensor ในแต่ละวันที่ผ่านไปจะมากมายมหาศาล ยิ่งมีเครือข่ายโรงงานหลายแห่งข้อมูลก็ยิ่งมากจนถึงระดับ Big Data ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ก็จะถูกนำไปจัดเก็บและประมวลผลบน Cloud Infrastructure ทำให้ไม่ว่าข้อมูลจะมีมากหรือซับซ้อนแค่ไหนก็ตามหากทำงานภายใต้เทคโนโลยี Cloud Computing และมีประสิทธิภาพของ 5G ที่เชื่อมต่อได้เสถียรและส่งผ่านข้อมูลจำนวนมากได้รวดเร็ว ข้อมูลก็จะกระจายไปยัง Supplier โรงงานผลิตต่าง ๆ ได้อย่างเรียลไทม์ ทำให้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและการประสานงานในภาพรวมเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ช่วยลดเวลาการทำงานก็เท่ากับช่วยประหยัดพลังงาน เมื่อใช้พลังงานน้อยลงก็เท่ากับช่วยลดการใช้ทรัพยากรลงไปด้วยนั่นเอง

              เมื่ออุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไปสู่ Smart Manufacturing จะเห็นได้ว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นนี้เต็มไปด้วยโอกาสและความเหนือชั้น ทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตมีโอกาสฟื้นตัวได้เร็วขึ้นจากวิกฤตที่ผ่านมา และยังเพิ่มโอกาสทางการแข่งขัน ทำให้ธุรกิจมีความยั่งยืนมากขึ้นด้วย และการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็น Smart Manufacturing ไม่ได้เป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างที่คิด เพราะ AIS Business พร้อมสนับสนุนให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมมีศักยภาพทางการแข่งขันที่สูงขึ้น ด้วยเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและแพลตฟอร์มโซลูชันอันหลากหลาย ที่ออกแบบไว้เพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตและทุกองค์กรธุรกิจแบบครบวงจร

              ในวันนี้ AIS Business พร้อมนำพาองค์กรสู่การ Transform เพื่อตอบรับการเป็น Smart Manufacturing ด้วยแนวคิด “AIS NEXTGen for Business” ประกอบด้วย

  • AIS 5G NEXTGen Center: ศูนย์กลางนวัตกรรมและทดสอบ 5G แห่งแรกที่ EEC
  • AIS 5G NEXTGen Platform: แพลตฟอร์ม 5G ครบวงจรแห่งแรกของประเทศไทย ที่รวมศูนย์การบริหารจัดการ 5G, Edge Computing, Clouds และ Applications Marketplace มาไว้ที่จุดเดียวแบบ One Stop
  • AIS 5G Digital Transformation: โซลูชัน 5G เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่กระบวนการทำงานแบบดิจิทัล ด้วยนวัตกรรม 5G กับพันธมิตรระดับโลก
  • AIS 5G Vertical Solutions: โซลูชัน 5G เพื่อสนับสนุนการทำงานภาคอุตสาหกรรม

              สนับสนุนองค์กรเพื่อให้พร้อมสร้างขีดความสามารถใหม่ ๆ ให้กับภาคธุรกิจไทย สามารถก้าวไปสู่ความท้าทายใหม่ ๆ ในอนาคตได้อย่างมั่นคง

วันที่เผยแพร่ 13 ตุลาคม 2565

Reference

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ 

สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล 
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที