Future You, Future World, Future Business
เปิดแนวคิดการดำเนินธุรกิจ Startup ให้ตอบโจทย์อนาคต
7 มี.ค. 2566

อนาคต ของคุณคือะไร?

เชื่อว่าเราทุกคนไม่มีใครสามารถที่จะล่วงรู้ได้ถึงอนาคตที่จะเกิดขึ้นกับเรา แต่สำหรับแวดวงธุรกิจเราสามารถที่จะคาดเดา-คาดการณ์ถึงโลกในอนาคตได้ โดยไม่เพียงแต่ฟังคำพูดของเหล่าผู้เชี่ยวชาญที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการนี้มานาน แต่ตัวของคุณเองก็สามารถคาดการณ์ และเลือกกำหนดทิศทางอนาคตของธุรกิจ Startup ตัวเองได้ เพียงเริ่มจากการตอบคำถามง่ายๆ เกี่ยวกับอนาคต 4 ข้อนี้ คือ

  • Definition - ความหมายของคำว่าอนาคต สำหรับคุณคืออะไร?
  • Direction - เรามีทิศทางไหนบ้างที่จะ Scale up พาธุรกิจไปสู่อนาคตที่คิดไว้?
  • Mechanic - เราจะไปสู่อนาคตได้ด้วย Mechanic อะไร?
  • Timing - เรากำหนดระยะเวลาของอนาคตเอาไว้เท่าไร?

เห็นภาพอนาคตที่ชัดเจนของตัวเองเรียบร้อยแล้วใช่หรือไม่? ถ้าคำตอบคือ ใช่ เตรียมตัวให้พร้อมแล้วตาม AIS The StartUp มาได้เลย วันนี้เราจะพาทุกคนไปดูแนวคิดการดำเนินธุรกิจให้คุณสามารถพาธุรกิจเติบโตไปข้างหน้าและสร้างสรรค์ให้ภาพ Better Future ที่คิดไว้เกิดขึ้นจริงกัน!

Better ➡️ Efficient (ประสิทธิภาพ)

แน่นอนว่าทุกคนต่างต้องอยากให้ธุรกิจ Startup ของตนเองเติบโตไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งสิ่งที่เสริมสร้างประสิทธิภาพให้อนาคตของธุรกิจ สามารถเติบโตได้อย่างดีนั้น เกิดจากการเชื่อมโยงของ Economy Dimension (Profit/Prosperity)+Environmental Dimension(Planet)+Social Dimension(People) = Interconnected Futures ที่สามารถหล่อหลอมให้เกิดเป็น Better Future และต่อยอดไปสู่ Efficient Future ได้

ซึ่งสำหรับการทำธุรกิจ Startup ในไทยนั้นการมองการณ์ไกลไม่เพียงคิดถึงแต่อนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่เพื่อสร้างอนาคตที่มีประสิทธิภาพ เราจึงต้องมี ‘สติ’ เตรียมความพร้อมควบคู่ไปกับการเข้าใจปัจจุบัน เข้าใจอนาคต และเข้าใจถึงสิ่งที่เกิดจากผลลัพธ์ของอนาคต หรือสรุปออกมาเป็นนิยามสั้นๆ ว่าเราต้องคิดถึง Future of the Future ด้วยนั่นเอง

แน่นอนว่าเทรนด์การเติบโตของโลกเราตั้งแต่ช่วงการระบาดของโควิด 19 อาจทำให้ทุกคนเห็นภาพที่ชัดเจนของการเติบโตที่ลดลงเรื่อยๆ และกลายเป็นเทรนด์ที่ World Economic Forum เรียกว่า Near-Term Slowdown ที่หมายถึง ภาวะถดถอยในช่วงเวลาระยะสั้นๆ เหล่าผู้ประกอบการสามารถทำควบคู่กันไปได้คือปรับแผนการดำเนินธุรกิจBusiness Model ให้ตอบรับกับเทรนด์ปัจจุบัน และวางแผนให้ธุรกิจของเราพร้อมถีบตัวเองขึ้นไปในใหม่ หลังจากเทรนด์ Near-Term Slowdown ผ่านพ้นไป

และเมื่อโลกเติบโตน้อยลง แต่เงินเฟ้อกลับพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ นี่จึงกลายมาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้โลกของเราเจอปัญหา Cost of Living Crisis ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับผู้คนทั้งการใช้ชีวิต สุขภาพกายและจิตใจ จึงทำให้ธุรกิจต่างๆ ต้องเผชิญกับความท้าทาย และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจตามไปด้วย เช่น

  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของตัวบุคคลให้มากขึ้น
  • รับมือกับ Supply-Chain Disruption ที่ส่งผลกระทบต่อภาคบริการและการผลิตทั้งห่วงโซ่อุปทาน เริ่มตั้งแต่การผลิตสินค้า การขนส่ง ไปจนถึงผู้บริโภค
  • รับมือกับ Disruptive Technology ที่เข้ามาแทนที่การใช้เทคโนโลยีรูปแบบเดิม
  • เราจะสามารถยืดหยัดในราคาของเท่าเดิมได้หรือไม่
  • หนี้เสียต่างๆ จะบริหารจัดการอย่างไร
  • ธุรกิจของเราส่งผลกระทบกับกลุ่มผู้เปราะบางหรือไม่
  • เส้นทางสู่พลังงานสีเขียว The Road to Green Energy

ถึงเวลาแล้วที่ภาคธุรกิจต้องปรับตัว เพื่อให้ตอบรับกับอนาคตที่จะเปลี่ยนแปลงไป โดยสำหรับนักธุรกิจมี 3 สิ่งสำคัญที่ต้องโฟกัส

1.Internal Operation - การดำเนินการภายใน โดยเทรนด์ของธุรกิจที่เปลี่ยนไปสามารถส่งผลกระทบได้ดังนี้

  • ความล้าสมัยที่เกิดจากการถูกคุกคามของกิจกรรมหลัก (Core Activity) และสินทรัพย์หลัก (Core Asset) ส่งผลกับประสิทธิภาพการทำงาน ผลประโยชน์ที่ได้รับ รวมไปถึงกำไร
  • เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและการเปลี่ยนแปลงทางความคิดสร้างสรรค์
  • ไม่ใช่แค่ผลผลิต แต่เราต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ที่ได้รับ
  • เน้นการทำงานภายในบริษัท
  • การลดข้อผิดพลาดคือสิ่งที่เราต้องโฟกัส

2. Investment - ที่มาของเงินทุน

เหล่าสตาร์ทอัพหรือผู้ประกอบการหลายคนอาจมองว่าเงินทุนเป็นอุปสรรค ที่ทำให้การเริ่มต้นธุรกิจเป็นเรื่องยากโดยเฉพาะในระดับ Seed Round แต่ในความจริงแล้วผู้ประกอบการกับนักลงทุน อยู่กันคนละคลื่นความถี่ที่เพียงปรับจูนใหม่ก็อาจช่วยสามารถค้นหากันและกันพบ โดยยุคนี้เรียกได้ว่ามีผู้ช่วยอย่าง LiveEx ที่เข้ามาเปิดโอกาสใหม่ ให้สตาร์ทอัพและผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งระดมทุนได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ESG ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญกับนักลงทุนมากขึ้น เพราะในอนาคตอันใกล้ ESG จะเข้าไปสอดแทรกอยู่ในทุกการเติบโตของธุรกิจ

3.Alignment - การทำธุรกิจให้คู่ขนานไปกับลูกค้าและพาร์ทเนอร์

ถึงเวลาแล้วสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนแบบทันสมัย หรือ Modernized Circular Economy ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกธุรกิจให้ขนานไปกับลูกค้าและพาร์ทเนอร์ โดยมุ่งเน้นไปถึงการนำเอากลับมาใช้ใหม่ (Recycle) การผลิตใหม่ (Manufacture) และการบริโภคใหม่ (Consume)

Not Only Knowledge and Skill,But Also Attribute. คุณสมบัติเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้ความรู้และสกิล

ในประเทศไทยเราอาจยังไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้กันหลากหลายนัก แต่ตอนนี้หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญกับคุณสมบัติมากขึ้น โดยคุณสมบัติที่จะสำคัญและมีคนมองหามากขึ้นในอนาคต คือ The Charismatic Leadership หรือคุณสมบัติของหัวหน้าที่ไม่ใช่แค่เพียงตำแหน่ง แต่หมายถึงคุณสมบัติของหัวหน้าที่มีคุณลักษณะที่จะโน้วน้าม ให้กำลังใจ รวมไปถึงเพิ่มประสิทธิภาพให้สมาชิกภายในทีม สามารถพัฒนาและก้าวไปข้างหน้านำหน้าตัวเองไป เพราะถ้าหากเราทำให้คนตามนำหน้าเราไม่ได้ นั่นก็หมายความว่าเราจะยังช้าอยู่แบบนั้น นอกจากนี้ความโดดเด่นของ The Charismatic Leadership คือการรู้เท่าทันและใช้โซเชียลมีเดียให้ถูกวิธี

Get yourself ready Now!

ไม่มีคำว่า ‘รอ’ อีกต่อไป! คุณสามารถเตรียมตัวให้พร้อมได้แล้วตั้งแต่วันนี้ สำหรับอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น อย่าปล่อยให้ไปถึงจุดนั้นแล้วจึงค่อยรู้ว่าสิ่งไหนที่เราต้องทำ เวลา = เงิน อย่าปล่อยให้เสียไปเฉยๆ

อ้างอิงข้อมูลจากงาน ‘Future Trends Awards 2022’ วันที่ 16 ธนวาคม 2565 - เซสชัน ‘Future You, Future World, Future Business’ โดยดร.ศรีหทัย พราหมณี ผู้จัดการด้านเอไอเอส สตาร์ทอัป บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) (AIS)