Header Background

ติดปีกสตาร์ทอัพสู่ความสำเร็จ
ยุคนี้ต้องขับเคลื่อนด้วยพลังแห่งข้อมูล !


9 พ.ค. 2565
Startup Thailand ก้าวไปสู่ความสำเร็จ

Data is the New Oil - Duuhumby, 2006
เมื่อแหล่งทรัพยากรแห่งใหม่ คือ ข้อมูลที่อยู่ในมือของทุกคน

“Data” เป็นสิ่งหนึ่งที่ใคร ๆ ก็พูดถึงและให้ความสำคัญ โดยเฉพาะในโลกธุรกิจทั้งในฝั่งของ SMEs และ Startup thailand ที่ได้รับผลกระทบของโรคระบาดจากช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ก็มีเหล่าข้อมูลหรือ Data นี่เองที่เป็นหนึ่งในตัวช่วยสำหรับการตัดสินใจเรื่องธุรกิจ

และในเมื่อ “ข้อมูล” มีค่าเปรียบเสมือน “น้ำมัน” ดังนั้นยิ่งเราสามารถนำน้ำมันดิบที่มีอยู่มา กลั่นให้บริสุทธิ์มากเท่าไร ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มมูลค่าและสร้างผลประโยชน์ทางธุรกิจได้มากขึ้นตามไปด้วย ในบทความนี้ AIS The StartUp จึงอยากขอพาทุกคนไปดูกันว่า สตาร์ทอัพสามารถนำ Data เข้าไปใช้เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในยุคนี้ได้ยังไงบ้าง

Data พลังสำคัญ - Startup Thailand focus

จาก Data สู่ Big Data

ข้อมูล (Data) ที่เรากำลังพูดถึงกันก็คือ ข้อมูลทุกอย่างที่ถูกเก็บบันทึกไว้ในองค์กร หรือบริษัท แต่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลลูกค้า ข้อมูลคู่ค้า หรือข้อมูลยอดขาย โดยสามารถเป็นได้ทุกรูปแบบ เช่น ตัวเลข ตัวหนังสือ รูปภาพ เสียง

และเมื่อข้อมูลมีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) จำนวนมากขึ้น ดังนั้นความเร็วในการบริหารจัดการข้อมูลก็ต้องถูกพัฒนาขึ้นตามไปด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองล้วนนำมาวิเคราะห์และต่อยอด เพื่อช่วยขับเคลื่อนธุรกิจสตาร์ทอัพให้ตรงจุดและตอบโจทย์ลูกค้ายุคดิจิทัลได้เป็นอย่างดี

ประโยชน์ของ Data

ข้อมูลที่เราใช้กันนั้นเป็นสิ่งสำคัญกับการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เราพูดคุยกันบริษัทหรือข้อมูลที่เราไปคุยกับลูกค้า ซึ่งช่วยให้ทั้งตัวเราและผู้ฟังเข้าใจถึงสถานการณ์ อย่างเช่นเวลาที่เราเตรียมข้อมูลไป Pitching นำเสนอข้อมูลของ Product กับนักลงทุนหรือกรรมการ เพื่อสร้างความสนใจในการลงทุนกับบริษัทของเรา

และเมื่อเรามีข้อมูลต่าง ๆ อยู่ในมือแล้ว ตั้งแต่ข้อมูลของผู้บริโภคไปจนถึงคำแนะนำในการทำธุรกิจจากที่ปรึกษาหรือนักลงทุน ทำให้เราสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาวางแผนและวิเคราะห์ต่อยอดเป็นแผนธุรกิจในอนาคต ซึ่งอีกหนึ่งข้อดีของข้อมูลคือช่วยให้เราตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างในช่วงการแพร่ระบาดที่ผ่านมาหลายธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด การรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง มาคิดวิเคราะห์และบริหารจัดการก็สามารถช่วยให้เกิดการตัดสินใจที่ดีได้

การใช้ Data ในการตัดสินใจ  - Startup Thailand focus

ข้อมูลที่เราเลือกมาวิเคราะห์นั้นควรอยู่บนฐานของ
“ความทันสมัย ปลอดภัย ถูกต้อง”

และอีกความน่าสนใจในยุคแห่งการแข่งขันอันเข้มข้นบนโลกธุรกิจ คือ ข้อมูลของธุรกิจที่เรามีในมือนั้นสามารถสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจสตาร์ทอัพ และนำมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันได้มากกว่าที่คิด ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจของเรามีมูลค่า 50 ล้านบาท และมีองค์กรใหญ่เข้ามาสนใจอยากร่วมลงทุน ถ้าเรามีข้อมูลระบบที่ใช้ในการบริหารจัดการ ข้อมูลในการวิเคราะห์ตัดสินใจและแผนการเติบโตของธุรกิจ อาจสร้างข้อต่อรองในการลงทุนได้มากขึ้น เเละอาจนำไปสู่การการควบรวมกิจการ (Mergers and Acquisitions : M&A) ได้อีกด้วย

Data Analysis - Startup Thailand focus

ข้อมูลก็มีการจัดระดับเหมือนกัน !

เมื่อข้อมูลมีอยู่เป็นจำนวนมากมายมหาศาล ดังนั้นก่อนจะนำข้อมูลมาใช้ Startup Thailand จึงต้องมีการจัดระดับความสำคัญและการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ระดับด้วยกัน คือ

  • Data - ข้อมูลดิบที่เรายังไม่ได้นำไปวิเคราะห์ สามารถนำไปใช้ได้ในกรณีเดียว คือ เป็นแหล่งอ้างอิง
  • Information - ข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์และรายงานมาแล้วระดับหนึ่ง ซึ่งสามารถเห็นเป็นข้อมูลสถิติพื้นฐานถึงสิ่งที่เกิดขึ้น
  • Knowledge - ข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์และตรวจสอบถึงข้อเท็จจริง และทำให้ทราบถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่ามีสาเหตุมาจากอะไร
  • Insight - ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล ซึ่งเจาะลึกลงไปถึงพฤติกรรมและความสนใจของบุคคล
  • Wisdom - ข้อมูลที่ได้รับการควบคุมและทำนายล่วงหน้า ถึงสิ่งที่ควรทำเมื่อต้องการผลลัพธ์ให้เป็นได้ตามความต้องการ

ข้อมูลช่วยสร้างมุมมองของธุรกิจ Startup Thailand ใหม่ ๆ

เพราะสตาร์ทอัพเป็นการทำธุรกิจที่เกิดขึ้นจากแนวคิดอยากพัฒนาโซลูชันหรือสร้างสรรค์นวัตกรรมขึ้นมา เพื่อช่วยแก้ปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คน ดังนั้นสิ่งที่ธุรกิจสตาร์ทอัพให้ความสำคัญอันดับแรกจึงกลายเป็นข้อมูลปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำมาวิเคราะห์และต่อยอดเป็นสินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์ อีกทั้งยังสามารถนำมาคาดคะเนเทรนด์และพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้า เพื่อนำไปวางแผนธุรกิจใหม่ ๆ สร้างยอดขายให้มากขึ้นได้อีกด้วย นอกจากนี้ข้อมูลยังสามารถช่วยทำให้เราประหยัดงบ ลดต้นทุนด้านบริหารได้อีกด้วย

ความเหมือนที่แตกต่าง “Business Intelligence และ Business Analytics”

สำหรับการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำมาต่อยอดในธุรกิจสตาร์ทอัพได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 กระบวนการด้วยกัน คือ

  • Business Intelligence เป็นการนำเอาข้อมูลในอดีตและปัจจุบันมาวิเคราะห์ต่อยอดเพื่อทำนายอนาคต
  • Business Analytics เป็นการใช้ข้อมูลในอดีตและปัจจุบันมาวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

ทั้งสองสิ่งนี้สามารถช่วยให้เราตัดสินใจทิศทางของธุรกิจได้ดีมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งช่วยสนับสนุนให้องค์กรมีศักยภาพพร้อมแข่งขันในตลาด แล้วเครื่องมือมีอะไรบ้าง? ที่สามารถเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ Business Intelligence และ Business Analytics ตามมาดูกันเลย

  • ฟังก์ชัน Data Analysis with Power Pivot ของโปรแกรม MS EXCEL
  • โปรแกรม MS Power BI Desktop
  • ฟังก์ชัน Data Visualization ของโปรแกรม Tableau Public
การใช้ Data - Startup Thailand focus

ตัวอย่างการใช้ Data ต่อยอดธุรกิจจากแบรนด์ดัง

Starbucks เป็นหนึ่งแบรนด์ที่ได้รับผลโหวตอันดับต้น ๆ ในความเอาใจใส่ลูกค้า ไม่เพียงแต่ประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับจากบริการหน้าร้าน แต่แอปพลิเคชันของทางร้านก็มีความใส่ใจอย่างดีเช่นเดียวกัน แบรนด์นี้ได้ดึงเอาข้อมูลการใช้งานของลูกค้าอย่าง เมนูที่สั่งบ่อย ๆ การสะสมแต้ม หรือความถี่ในการใช้งาน มาวิเคราะห์แล้วออกแบบเป็นโปรโมชันหรือเมนูแนะนำที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย

สุดท้ายแล้วในปัจจุบันที่ธุรกิจสตาร์ทอัพมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว การที่เราศึกษาและเรียนรู้กลยุทธ์เทคนิคหลายๆ อย่างเพื่อให้เราได้เปรียบในเชิงของธุรกิจประเภทนี้แล้ว จึงเป็นเรื่องที่ควรจะให้ความสำคัญกับ Big Data มากๆ ก้าวแรกที่มั่นคงจะทำให้ธุรกิจเติบโตไปได้อย่างสวยงาม อย่างที่เค้าว่ากันว่า “เริ่มต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง”

สุดท้ายแล้วข้อมูลตั้งต้นที่ดีก็เปรียบเสมือนการติดกระดุมเม็ดแรกที่ถูกต้อง ดังนั้นต่อให้เส้นทางของธุรกิจสตาร์ทอัพจะต้องพบเจอกับความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หรือความท้าทายด้านอื่น ๆ แต่ถ้าหากเรามีชุดข้อมูลที่ดีบวกกับการตัดสินใจที่ถูกต้องก็สามารถติดปีกพาธุรกิจเติบโตไปสู่ความสำเร็จได้อย่างแน่นอน

หากใครที่สนใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัว AIS The StartUp สามารถส่งผลงานได้ที่ http://www.ais.th/thestartup/connect.html

เนื้อหาในบทความทั้งหมดอ้างอิงข้อมูลจาก AIS SME Growth Webinar วันที่ 31 มีนาคม 2565 - การใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อนธุรกิจสไตล์เอสเอ็มอียุคใหม่