ต่อยอด Startup Thailand ด้วย 4 หัวใจหลักจาก Digital Transformation

4 องค์ประกอบต่อยอดธุรกิจสตาร์ทอัพไปได้ไกลในยุคดิจิทัลด้วย Digital Transformation

21 พ.ย. 2565
ต่อยอด Startup Thailand ด้วย 4 หัวใจหลักจาก Digital Transformation

ความท้าทายของยุคดิจิทัลคือ เทคโนโลยีมีการพัฒนาและเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเหมือนตัวแปรสำคัญที่ขับเคลื่อนให้เหล่าผู้ประกอบการธุรกิจ Startup Thailand ต้องปรับตัว Transform เป็น digital business ให้ธุรกิจไปได้ไกล ผ่านการสร้างโอกาสด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล แทนที่การยึดติดกับรูปแบบเดิม ๆ และกลายเป็นคนที่ถูก Disrupt

ก่อนจะพูดกันถึง Digital Transformation เราขอพาทุกคนย้อนกลับไปดู 3 สาเหตุหลักของ ปัญหาในการทำธุรกิจต่าง ๆ ของ SMEs และ ธุรกิจ Startup ในไทย ส่วนมาก ที่มักจะได้พบเจอก่อนการนำเอาเทคโนโลยี ดิจิทัลมาปรับใช้ ได้แก่

1.มีข้อมูลในการตัดสินใจไม่เพียงพอ - สำหรับบริษัท Startup ในไทย ที่มีข้อมูลต่างๆ ในมือน้อยเกินไปหรือเก็บข้อมูล อย่างไม่เป็นระบบ ย่อมส่งผลให้ธุรกิจเกิดการเติบโตและพัฒนาต่อไป ได้ช้ากว่าที่ควร อย่างเช่น เวลาขายสินค้าหรือบริการ ถ้าหากเราไม่เก็บข้อมูลลูกค้าอาจทำให้เกิด เรื่องยากเวลาที่ต้องการทำโปรโมชัน หรือต้องการติดตามให้ลูกค้าเก่ากลับมาใช้ซ้ำ

2.ข้อมูลขาดความถูกต้องแม่นยำ และขาดความปลอดภัย - คือเมื่อข้อมูลเรามีไม่เพียงพอหรือเก็บ ไม่ถูกต้องกับโจทย์ของธุรกิจ Startup Thailand ส่งผลให้ธุรกิจวางแผนประเมินไปผิดทิศทางได้ รวมถึงการที่ข้อมูลบางอย่างหลุดไปอยู่กับคู่แข่ง ตัวอย่างธุรกิจร้านอาหารหรือร้านค้าปลีก การมีระบบ POS (Point of sale system) หรือระบบขายหน้าร้าน เป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้เราทราบถึง จำนวนยอดสินค้าขายดี โดยเฉพาะกรณีสินค้ามีเรื่องหมดอายุ จะทำให้เราบริหารสต็อกสินค้าและช่วย ให้เรานำข้อมูลไป บริหารจัดการ ภายในบริษัท Startup Thailand ต่อได้แม่นยำมากขึ้น

3.ขั้นตอนของการทำงานที่พึ่งความชำนาญของคนมากกว่าระบบ - ธุรกิจสตาร์ทอัพ สามารถสะดุดได้ถ้าหากพนักงานหรือเพื่อนร่วมทีมคนใดคนหนึ่งได้ลาออกไป เนื่องจากพึ่งพาความชำนาญของตัวบุคคล เพียงอย่างเดียว เช่น งาน Service และ Customer Support ที่ต้องรู้รายละเอียดความต้องการ ของลูกค้า และสิ่งที่ได้ให้บริการไปแล้ว

Digital Transformation สำคัญอย่างไรต่อธุรกิจ Startup Thailand

Digital Transformation คือทางรอดของธุรกิจสตาร์ทอัพ?

แน่นอนว่าเมื่อเทคโนโลยีถูกพัฒนาไปแบบก้าวกระโดดจากสถานการณ์ในโลกปัจจุบัน หลายๆ ธุรกิจ Startup Thailand รวมไปถึงองค์กรภาครัฐต่างหันมาจับตามองและเลือกใช้กลยุทธ์ Digital Transformation เพื่อให้ปรับตัวได้ทันท่วงที โดยนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ (Online solution) และเปลี่ยนแปลง ธุรกิจ Startup Thailand ตั้งแต่จุดเริ่มต้นไป จนสินค้าและบริการส่งถึงมือของลูกค้า

การมาของเทคโนโลยีดิจิทัลจึงเรียกได้ว่าช่วยเสริมความแข็งแกร่ง เพิ่มประสิทธิภาพ และต่อยอดธุรกิจ Startup Thailand ให้ไปได้ไกลกว่าการดำเนินธุรกิจแบบเดิมๆ ด้วยการมีเครื่องทุ่นแรงหรือเครื่องมือ ทางดิจิทัลมาช่วยเหลือ ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุน ลดเวลาการทำงาน และลดข้อผิดพลาดลงได้ ไม่ต่ำกว่า 40%

การ Transformation สำหรับ Startup Thailand ไม่ใช่เพียงแค่การแก้ปัญหาชั่วคราว

Repair and Change ≠ Transformation

อีกหนึ่งสิ่งที่หลายคนมักเข้าใจผิดหรือสับสนเกี่ยวกับ Digital Transformation คือรูปแบบคำที่ดูล้ำสมัย และอาจมีขั้นตอนในการปรับเปลี่ยนที่ยุ่งยาก จึงหันไปเลือกกลยุทธ์การ Repair / Change รับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจธุรกิจสตาร์ทอัพในไทย มากกว่าการ Transformation

- Repair / Change = การแก้ปัญหาชั่วคราว
สำหรับคำว่า Repair / Change เปรียบเสมือนการซ่อมแซม ที่เมื่อมีจุดใดจุดหนึ่งเสียหายก็นำออกมาซ่อมหรือใส่สิ่งใหม่เข้าไป แต่สุดท้ายแล้วเราก็ยังต้องติดตามและควบคุม เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำอีก

- Transformation = แก้ปัญหาถาวร
ถ้าจะเปรียบให้เห็นภาพที่ชัดเจนก็คือการปฏิรูป เปลี่ยนรูปแบบในการดำเนินธุรกิจมาเป็น Tech Startup ยกตัวอย่างเช่น ร้านอาหารที่ปรับเปลี่ยนจากรูปแบบหน้าร้านไปเลือกเปิด Cloud Kitchen รับออเดอร์ผ่านช่องทางออนไลน์แทน โดยไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน อีกต่อไป

4 หัวใจสำคัญในการทำ Digital Transformation สำหรับ Startup Thailand

4 องค์ประกอบสำคัญในการทำ Digital Transformation ต่อยอดธุรกิจ Startup Thailand ให้เติบโตอย่างยั่งยืน

1.Mindset - มีแนวคิดที่เปิดรับสิ่งใหม่ๆ แต่ก็มีความมั่นใจในสิ่งที่เลือก ไม่เอนเอียงไปมา รวมไปถึงสามารถคิดวิเคราะห์ได้ว่าธุรกิจ Startup Thailand ของเราอยู่ตรงไหนในตลาด และมีความต้องการอย่างไร เพื่อพัฒนาธุรกิจ Startup Thailand ให้ไปอยู่ในจุดที่ต้องการ และไม่เป็นการคิด copy ทั้งหมด ของคนที่ทำสำเร็จแล้ว

2.Process - วางวัตถุประสงค์ในการปรับเปลี่ยนกระบวนการต่างๆ ในการทำธุรกิจดิจิทัลให้ชัดเจน เพื่อให้ตอบสนองกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด ต้องออกแบบวิธีการและกระบวนการให้เหมาะกับ องค์กรเราเอง ขนาดธุรกิจ และทีมงาน

3.Incentive - ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งฝั่งของผู้ประกอบการ พนักงาน รวมไปถึงฝั่งของลูกค้าที่ใช้บริการ เช่น ระบบสะสมแต้มของการใช้บริการ หรือโครงการคนละครึ่งของรัฐบาล

4.Tools - เครื่องมือในการใช้งาน ที่ไม่จำเป็นต้องไฮเทคหรือล้ำสมัย แค่เริ่มต้นปรับเปลี่ยนไปใช้เครื่องมือง่ายๆ ที่สามารถช่วยให้เราจัดเก็บ วิเคราะห์ข้อมูล และเหมาะสมกับธุรกิจ Startup Thailand ของเราได้ก็ถือว่าเป็นการนำเอา Digital Transformation มาปรับใช้แล้ว

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ AIS The Startup เพื่อยกระดับธุรกิจของคุณ -  Startup Thailand Focus

ถ้าหากธุรกิจของคุณได้เริ่มต้นทำ Digital Transformation แล้วอยากเสริมประสิทธิภาพของ องค์กรให้ดีขึ้นยิ่งกว่าเดิม สามารถสมัครมาเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ AIS The StartUp ได้แล้ววันนี้ ! มาสร้างทิศทางที่ใช่ให้ธุรกิจ Startup Thailand ไปได้ไกลกว่าเดิมด้วยเครื่องมือดิจิทัล พาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ และที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

เสริมสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจ Startup Thailand ของคุณง่ายๆ เพียงส่งผลงานเข้ามาร่วมการคัดเลือกคลิก http://www.ais.th/thestartup/connect.html เนื้อหาในบทความทั้งหมดอ้างอิงข้อมูลจาก AIS SME Growth Webinar วันที่ 4 สิงหาคม 2565 - SME ควรทำ Digital transform อย่างไร? ให้เติบโตอย่างยั่งยืน

Footer