ความแตกต่างของกระบวนการให้ความรู้
และกระบวนการให้คำปรึกษาสำหรับบริษัท Startup
30 กันยายน 2560

การทำธุรกิจในแบบ Startup หรือแบบ Traditional Corporate มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน โลกของ Startup คือการ ขยายให้เร็ว เพิ่มฐานผู้ใช้ให้มีจำนวนมากเพียงพอในระยะเวลาอันสั้นเพื่อรับ Feedback ที่จะนำมาปรับปรุงสินค้าและบริการ ได้อย่างทันท่วงที ในขณะที่โลกของ Traditional Corporate มุ่งเน้นที่การสร้างคุณภาพของสินค้าและผลกำไรจากการลงทุน แต่ ทั้งนี้การทำธุรกิจทั้งสองรูปแบบก็มีจุดประสงค์ปลายทางสุงสุดเดียวกันคือ

“การสร้างสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจ ของกลุ่มเป้าหมาย ทำให้ลูกค้ายินยอมจ่ายเงิน ซื้อใช้ซ้ำ มีความรักและภักดีต่อแบรนด์”

แม้โลกธุรกิจทั้ง 2 แบบมีวิธีการดำเนินงานที่แตกต่างกัน แต่ทั้งคู่ก็เป็นส่วนเสริมซึ่งกันและกัน เป็นจิ๊กซอร์เติมเต็มระบบนิเวศ เศรษฐกิจของไทยโดยเฉพาะในยุคของดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุก ๆ มุมโลก องค์การใหญ่เปรียบเสมือนพี่ใหญ่ในระบบ นิเวศที่สามารถใช้ศักยภาพภายในของตนเองมาให้ความรู้และคำแนะนำให้กับบริษัท startup ให้กลายเป็นฟันเฟืองที่มีคุณภาพใน ระบบนิเวศได้ ทำให้องค์รวมของระบบนิเวศขับเคลื่อนได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก เป็นการสร้างผลประโยชน์ร่วมระหว่าง องค์การใหญ่ และ บริษัท startup

องค์กรใหญ่จากเกือบทุกอุตสาหกรรมลุกขึ้นมาประกาศตามหน้าสื่อเพื่อให้ความรู้และให้คำปรึกษากับบริษัท Startup ไม่ว่าจะในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม อุตสาหกรรมการเงิน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หรือแม้กระทั้งในอุตสาหกรรมก่อสร้าง การให้ความรู้และการให้คำปรึกษามีรูปแบบและวัตถุประสงค์ที่แตกตางกัน ความแตกต่างของทั้งสองเป็นดังนี้

การให้ความรู้กับ Startup

เพราะตระหนักว่า ก้าวแรกมันจะยากเสมอ การจัดทำโปรแกรมเพื่อให้ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นช่วยส่งเสริมให้ Startup ตระหนักถึงวิธีการที่ถูกต้องในการเริ่มต้นและสานต่อธุรกิจแบบยั่งยืนได้ หากเปรียบเทียบ การจัดทำโปรแกรมลักษณะนี้เปรียบ เหมือนการสร้างหลักสูตรนอกสถานการณ์ศึกษาที่มีแบบแผนของตารางการเรียนที่ชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามเนื้อหาของความรู้ จะเป็นแบบทั่วไปที่ไม่ได้ปรับให้เหมาะสมเฉพาะลงไปสำหรับ Startup บริษัทใดบริษัทหนึ่ง

ข้อดีสำหรับองค์กร: เปิดโอกาสให้องค์กรเป็นผู้นำการสร้าง Startup Community ซึ่งอาจจะระบุเป็น Vertical Segment ตามความสนใจเฉพาะของแต่ละองค์กรได้ องค์กรไหนที่สามารถสร้าง Community ให้เกิดได้อย่างแท้จริง องค์กรนั้นก็จะได้รับผล ประโยชน์ทางอ้อมจากวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนแนวคิดระหว่างบุคลากรภายในและภายนอกองค์กร เปิดโอกาสให้คนภายใน ได้เรียนรู้แนวคิดใหม่ๆจากภายนอกตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

ข้อควรระวังสำหรับองค์กร: หาก Community ที่สร้างขึ้นไม่แข็งแรง และองค์กรไม่วางแผนการรองรับของการเติบโตของ Startup ได้อย่างดี จะส่งผลให้ระบบนิเวศเศรษฐกิจภาพรวมไม่แข็งแรงตามไปด้วย และความพยายามในการสนับสนุน Startup จะกลายมาเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อการทำการตลาดขององค์กรมากกว่าการขับเคลื่อนระบบนิเวศเศรษฐกิจ

ที่ปรึกษาสำหรับบริษัท Startup

การให้คำปรึกษาต่างจากการให้ความรู้ การให้คำปรึกษาเป็นการใช้กประสบการณ์ ความรู้ และ ความชำนาญเฉพาะทาง ของผู้ให้คำปรึกษามาถ่ายทอดให้กับผู้มาปรึกษาโดยมุ่งเน้นให้เกิดผลลัพธ์ในทางปฏิบัติ โดยปกติการปรึกษาจะเป็นเรื่องที่ เฉพาะเจาะจง ที่เกี่ยวข้องกับกความท้าทาย (Challenge) ที่บริษัท Startup พบเจออยู่และต้องการหาทางแก้ไข ดังนั้นก่อนกระบวน การให้คำปรึกษาจะเกิดขึ้น Startup จะต้องเตรียมคำถามเกี่ยวกับความท้าทายและเข้าใจจุดประสงค์ของตนเองที่ต้องการเอาชนะ ความท้าทายนั้น ๆ ผู้มาปรึกษามีหน้าที่ที่นำคำแนะนำกลับไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของตนเอง วางแผนเพื่อ นำมาซึ่งการปฏิบัติให้ได้ผลจริง การให้คำปรึกษาไม่ได้เหมาะกับทุก ๆ Startup แต่จะได้ผลดีกับ Startup ที่ผ่านระยะเริ่มต้นและเริ่ม มีแนวทางการเดินธุรกิจที่ชัดเจน

ข้อดีสำหรับองค์กร: คนในองค์กรใหญ่มีประสบการณ์ในฟังก์ชั่นงานที่ตัวเองรับผิดชอบอยู่ จึงสามารถแชร์ประสบการณ์ เหล่านั้นให้กับ Startup ได้

ข้อควรระวังสำหรับองค์กร: การให้คำปรึกษาจำเป็นต้องใช้ทักษะมากกว่าแค่ประสบการณ์ในฟังก์ชั่นงาน เช่น การรอบรู้ เชิงกว้างของธุรกิจ ทักษะการโน้มน้าว และ ทักษะการติดตามผล เป็นต้น ดังนั้น ไม่ใช่ว่าทุกคนที่มีประสบการณ์ในฟังก์ชั่นงานใด งานหนึ่งเป็นระยะเวลานานจะสามารถเป็นผู้ปรึกษาที่ดีกับบริษัท startup ได้

AIS The StartUp ดำเนินการจัดทำโปรแกรมการให้ความรู้และการให้คำปรึกษาทีมีศักยภาพมากกว่า 7 ปีติดต่อกัน และ เราได้สร้าง Startup ที่มีคุณภาพสู่นิเวศเศรษฐกิจมากมาย เช่น FlowAccount, ZipEvent, Local Alike และ Favstay เป็นต้น และ เราเปิดพร้อมเพื่อให้ความรู้และที่ปรึกษาให้กับบริษัท Startup เพื่อเติบโตไปด้วยกัน หากคุณเป็นนักคิด นักพัฒนา ที่มีไอเดีย มี ความมุ่งมั่นในการลงมือทำเพื่อแปลงไอเดียให้เกิดขึ้นสามารถสมัครได้ที่ www.ais.th/thestartup โดยเราจะทำการคัดเลือกใน ทุก ๆ วันที่ 16 ของทุกเดือน

บทความโดย ดร. ศรีหทัย พราหมณี
Head of AIS The StartUp