สื่อสารอย่างไรให้โดนใจตลาด
แนวทางที่ Startup Founder ไม่ควรพลาด!
28 สิงหาคม 2560
" เมื่อสตาร์ทอัพไม่ใช่เรื่องที่ทุกคนจะเข้าใจได้ตรงกัน
100 คน อาจตีความ ไปได้หลายร้อยความหมาย "

การสื่อสารให้แบรนด์ธุรกิจติดตลาดนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อโจทย์สำคัญของการทำธุรกิจคือการทำให้กลุ่มลูกค้ายอมรับใน สินค้าและบริการของตัวเอง และเหนือจากคู่แข่งในตลาดที่มีอยู่นับร้อยนับพัน

การสื่อสารที่ดีและเหมาะสมกับทิศทางภาพรวมของตัวแบรนด์ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพต้องรู้ ศึกษาและ ทำการบ้านมาให้ดี ในการทำคอนเทนท์ที่จะสื่อสารออกไปให้ได้ประสิทธิภาพ และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าของแบรนด์ให้เป็นที่จดจำ

การสร้างการสื่อสารที่ “ตรงจุด” ถูกที่ถูกเวลาเพื่อตีตลาดให้ลูกค้าอยู่กับเราไปนานๆ จึงเป็นความท้าทายอย่างมากสำหรับ Startup ซึ่งเป็นบริษัทที่มีทรัพยากรจำกัด

เมื่อวันอังคารที่ 27 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา ที่ AIS D.C. แหล่งพบปะของกลุ่มสตาร์ทอัพในครอบครัว AIS The StartUp ได้รับเกียรติจาก คุณกร ชลากรณ์ ปัญญาโฉม, COO of Workpoint

โดยคุณกรเปิดเผยว่า เรื่องแรกที่เราต้องรู้ให้ได้เลยคือกลุ่มลูกค้า เขาเป็นใครและอยากฟังเรื่องอะไรจากเรา เมื่อ สตาร์ทอัพไม่ใช่เรื่องที่ทุกคนจะเข้าใจได้ตรงกัน 100 คน อาจตีความไปได้หลายร้อยความหมาย คนโดยส่วนใหญ่หรือแม้แต่กลุ่ม Founders เองมักจะรู้แต่เรื่องที่ตัวเองทำ แต่ไม่สามารถสื่อสารออกไปให้คนส่วนใหญ่เข้าใจตรงกันได้ ดังนั้นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่ต้อง ไปทำการบ้าน คือ จะสื่อสารอย่างไรให้คนฟังเห็นภาพและเข้าใจในไอเดียธุรกิจที่เรารู้ โดยเคล็ดลับคือการออกหมัดฮุคเรื่อง Pain Point ตั้งแต่แรก ด้วยการบอกให้ได้ว่า Product หรือ Service ที่เราทำนั้นมีคุณค่าและประโยชน์ที่จะมาแก้ไขปัญหาให้กลุ่มลูกค้า ได้อย่างไร จึงค่อยสื่อสารออกไปในสิ่งที่เขาอยากฟัง ถ้าเราสามารถอธิบายคนที่ไม่เคยรู้ในเรื่องนั้นมาก่อนสามารถเข้าใจได้ แสดงว่า เราสื่อสารได้สำเร็จ

อย่างกรณีของรายการ The Mask Singer เป็นตัวอย่างรายการที่คนดูผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์เยอะที่สุด เมื่อผู้ผลิต รายการจะนำเสนอคอนเทนท์อะไรสักอย่างให้โดนใจคนดู จะทางโทรทัศน์ หรือโดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ที่ผู้ประกอบการช่องโทรทัศน์ หลายราย ต้องหันมาให้ความสนใจในการก้าวเท้าเข้าไปลุยตลาด โดยมีแนวคิดหนึ่งซึ่งเป็นโจทย์ที่น่าสนใจและท้าทายสำหรับผู้ผลิต รายการ เพราะในหนึ่งวันมีคนทำวีดิโอถึง 1 พันล้านชั่วโมง หมายความว่า คุณมีคู่แข่งถึงพันล้านคน แต่ทำอย่างไรให้เนื้อหาของคุณ โดดเด่นกว่าอีก 900 กว่าล้านชั่วโมงนั้น เพราะคนบนโลกมีตั้งเยอะ แต่ไม่ควรไปสนใจในจุดนั้นมาก แค่ทำเนื้อหาที่มีให้มันใหญ่และโดนใจ คนดู ทำอย่างไรให้โดดเด่นกว่าคนอีกมหาศาล เมื่อโลกทั้งใบต่างต้องการแย่งเวลาจากกันและกัน ใครได้เวลาไปมากกว่าคนนั้นชนะ อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่คนทำคอนเทนท์มักจะมองข้ามไปคือทำอย่างไรที่จะรักษาคนดูให้เขาอยู่กับเราไปตลอด ดังนั้นต้องมีความ สม่ำเสมอในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพราะไม่บ่อยนักที่จะทำคลิปออกมาแล้วเป็นไวรัล หรือฮิตติดลมบน ความสม่ำเสมอใน เรื่องนี้จะช่วยในส่วนของ Cost ที่ยิ่งทำก็ยิ่งต่ำลง ทำให้รู้ว่าคนดูเขาชอบดูอะไรบ้าง

นอกจากนี้อีกสิ่งที่คุณกรเน้นย้ำคือเรื่องของการกำหนดทิศทางคอนเทนท์ที่ต้องการนำเสนอออกไป โดยส่วนใหญ่สิ่งที่ มักจะทำแล้วติดตลาดคือประเภทของ สัตว์ประหลาด (The Mask Singer,นาคี),อาชญากรรม (เปรี้ยวฆ่าหั่นศพ), ขำและซึ้ง (พี่มากพระโขนง) ที่มักจะกระตุ้นอารมณ์คนดูได้เสมอ อย่างคอนเทนท์ที่คนดูซ้ำเยอะที่สุดในโลกคือเรื่องตลก แต่ความยากคือ คนเราเวลาเสียใจมักจะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่เวลาจะขำมักจะเป็นคนละเรื่อง ดังนั้นสิ่งที่ท้ายทายสำหรับผู้ผลิตรายการคือทำอย่างไร ให้คนส่วนใหญ่ขำในเรื่องเดียวกัน

สตาร์ทอัพเองก็เช่นกัน เมื่อ Founder มีไอเดียธุรกิจอยู่ในหัวแล้ว คุณย่อมต้องรู้จักกลุ่มลูกค้าของคุณเป็นอย่างดี เหมือนที่ ผู้ผลิตรายการรู้ว่ากลุ่มคนดูรายการที่ตนทำนั้นชอบอะไรเป็นพิเศษ แล้วจะเสิร์ฟเขาด้วยแนวทางแบบไหน จากนั้นจึงค่อยมากลั่นกรอง เคี่ยวปรุงคลุกเคล้าความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้นให้ลูกค้าติดใจใน Product หรือ Service นั้นๆ ให้ติดตลาด

“สตาร์ทอัพเป็นเรื่องยากมากสำหรับคนไทย อย่างถ้าเราหลุดออกไปจากกรุงเทพมหานคร ไปบอกคนว่าเราทำสตาร์ทอัพอยู่ คิดว่าเขาจะเข้าใจกันทั้งหมดไหม? การสื่อสารเรื่องสตาร์ทอัพมันจึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แค่เพียงนิยามว่าสตาร์ทอัพคืออะไร เดินออกไปถามคน 10 คนย่อมไม่เหมือนกันสักคนเดียว ดังนั้นพี่แนะนำว่าให้ลืมคำว่าสตาร์ทอัพไปก่อน แล้วบอกให้ได้ว่าธุรกิจ ที่เราทำอยู่ควรจะบอกคนฟังให้ได้ว่ามันมีประโยชน์อะไรและแก้ไข Pain Point อย่างไร เพราะมันก็คือเรื่องที่เราทำเองทั้งนั้นแหละ”
คุณกร ชลากรณ์ ปัญญาโฉม กล่าว

ในทุกๆ เดือน AIS จะมีการจัดอบรม Executive Leadership ให้กับเหล่า Startup ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ หากคุณมีไอเดีย มีผลงานสามารถเพื่อรับโอกาสเข้าร่วม Monthly Pitching ได้ที่ https://www.ais.th/thestartup/connect.html

บทความโดย ดร. ศรีหทัย พราหมณี
Head of AIS The StartUp