เคล็ดไม่ลับการสร้างธุรกิจยั่งยืน - Startup Thailand Focus

3 เคล็ด(ไม่)ลับ จาก QueQ และ AIS The StartUp
เพื่อการสร้างธุรกิจ Startup ที่ยั่งยืน

14 กรกฎาคม 2560
" จงทำบริการที่ลูกค้าอยากมี
ไม่ใช่ที่เราอยากให้ลูกค้ามี "

เคยสังเกตกันไหม!! หน้าร้านอาหารในห้างสรรพสินค้าหรือ Community ต่างๆ ในกรุงเทพฯ จะมีตู้ (Kiosk) ใหญ่ๆ ตั้งอยู่ หน้าจอ ของตู้จะแสดงผลคนที่กำลังรอเข้าคิวเพื่อจะมาใช้บริการร้านอาหาร เหล่านั้น นั่นก็คือ ตู้ QueQ (QueQ Kiosk) นั่นเอง


QueQ - Startup Thailand

แม้ว่า characteristics ของแต่ละเวทีการประกวดจะแตกต่าง กัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ “เคล็บลับการ Pitching เพื่อพิชิตใจ กรรมการ” ซึ่งสามารถประยุกต์นำไปใช้ได้ในทุกๆ เวทีการประกวด

เส้นทางการเดินทางของ QueQ ร่วมกับ AIS The StartUp นั้นยาวนานตั้งแต่ปี 2013 เมื่อ นายรังสรรค์ พรมประสิทธิ์ (คุณโจ้) ผู้ก่อตั้งบริการ QueQ ได้นำเสนอไอเดียกับ AIS และได้รับ Feedback ที่สำคัญไปว่า “จงทำบริการที่ลูกค้าอยากมี ไม่ใช่ที่เราอยากให้ลูกค้ามี” และการนำ Feedback ครั้งนั้นไปปรับปรุงอย่างไม่ย่อท้อใช้เวลาถึง 2 ปี QueQ กลับมานำเสนอ ผลงานอีกครั้งกับ AIS The StartUp ในปี 2015 แบบมีคุณภาพทั้งในเชิง Business Value และ Customer Value จนในที่สุด QueQ ได้รับเลือกร่วมเป็นหนึ่งในครอบครัวของ AIS The StartUp อย่างเป็นทางการในปี 2015 เป็นต้นมา

ทีมงานQueQ - Startup Thialand

ตลอดเวลาที่ผ่านมา QueQ เป็นหนึ่งในต้นแบบที่ดีให้กับ Startup Thialand รุ่นน้อง โดยเน้นย้ำที่ “การเติบโตแบบยั่งยืน” ไม่สร้างกระแสตามแฟชั่น เพราะการทำ Startup ไม่ใช่เรื่องง่าย มีหลายสิ่งที่ซ่อนอยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็ง Mission ที่แท้จริงของ QueQ ไม่ใช่เพียงแค่การนำ Kiosk ไปตั้งตามหน้าร้านอาหารหรือเพียงแค่การทำ Application บนมือถือเท่านั้น แต่ทุกย่างก้าวบนเส้นทาง ธุรกิจของ QueQ ล้วนผ่านการกลั่นกรองอย่างมีกลยุทธ์ ด้วยแนวคิดที่ว่า.....

Quote หากเขาทำสินค้าที่ดี มีขนาดตลาดใหญ่ และสร้างพันธมิตรที่มี ศักยภาพ ธุรกิจของเขาก็จะสร้างคุณค่าและเติบโตได้อย่างยั่งยืน แล้ววันหนึ่งนักลงทุนที่มีคุณภาพ ก็จะให้ความสนใจเขาเอง

คุณโจ้เผย 3 เคล็ด(ไม่)ลับ ของ QueQ ให้กับ Startup Thialand รุ่นน้องดังนี้

เคล็ดไม่ลับ 3 ข้อ - Startup Thialand Focus
Icon ขนาดตลาดรวมต้องใหญ่

หลายครั้งที่อยากเป็น Startup ถูกสอนให้เห็นถึงแต่ปลายทางว่าถ้าจะทำ Startup ต้องคิดใหญ่ ต้องครองโลกเพื่อเป็นยูนิคอน คำศัพท์นี้ในวงการ Startup หมายถึงการสร้างมูลค่าบริษัทให้สูงถึงพันล้าน US$ แต่ในความเป็นจริง การที่มูลค่าบริษัทจะสูงได้ถึง ขนาดนั้น บริษัทต้องสามารถครอบครองตลาดที่ใหญ่มาก แต่ในตอนเริ่มต้น Startup ทีมเล็กๆ จะทำได้อย่างไง เคล็บ(ไม่)ลับของ QueQ คือ .....

Quote มองให้เห็นขนาดของตลาดรวมทั้งหมดก่อนว่ามีขนาดใหญ่แค่ไหน แต่ตอน เริ่มต้นต้องไม่เริ่มจากตลาดทั้งหมด แต่หา Segment ของตลาดที่เล็กแต่ สร้าง Impact ให้เจอ แล้วพยายามที่จะครอบครอง (Dominate) Segment นั้นให้ได้ก่อน เมื่อสำเร็จแล้วจึงจะนำบริการไปใช้ในอีก Segment ของตลาด

ตลาดจริงๆ ของ QueQ ไม่ใช่ตลาดร้านอาหาร แต่เป็นตลาดของระบบคิว ซึ่งในตลาดมีอยู่หลากหลาย Segment เช่น ร้านอาหาร, โรงพยาบาล, หรือ บริการธนาคาร เป็นต้น แต่ Segment แรกที่ QueQ เลือกคือ Chain Restaurant ที่อยู่ในห้างและเลือกเฉพาะใน กรุงเทพฯเท่านั้น จนปัจจุบัน QueQ สามารถครอบครองลูกค้าใน Segment แรกที่เขาเลือกได้จริง และมีผู้ลงทะเบียนใช้งาน Application ทั้งในระบบ iOS และ Android มากกว่า 550,000 รายในระยะเวลา 2 ปี ซึ่งในแต่ละเดือนการใช้งานต่อผู้ใช้ 1 สูงถึง 5 ครั้งต่อเดือนโดยเฉลี่ย หลังจากครอบครองตลาดแรกได้สำเร็จ QueQ จึงเริ่มนำบริการเข้าสู่ Vertical Segment อื่นๆ เช่น คือ ธุรกิจค้าปลีก และ ธุรกิจโรงพยาบาล เป็นต้น

Icon แก้ไขที่ละปัญหาแล้วค่อย amplify วิธีการไปแก้ไขปัญหาอื่นๆ ที่ใหญ่ขึ้น

ในความเป็นจริง QueQ ไม่ได้แก้แค่ปัญหาเรื่องการเข้าคิว QueQ ไม่ได้ทำให้คิวน้อยลง แต่เป็นเรื่องของ “การสร้างความคุ้มค่า ของการเวลาให้กับผู้ใช้งาน” ดังนั้น QueQ จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่ Solution ให้กับหน่วยงาน แต่ยังตอบสนอง Lifestyle ในฝั่งผู้ใช้ด้วย ในวันนี้ QueQ ได้เริ่มขยาย Market Segment ไปยังโรงพยาบาล โดยมี Mission ที่แท้จริง คือ .....

Quote ทำอย่างไรให้คนมารับบริการใช้เวลาในการอยู่โรงพยาบาล ให้น้อยที่สุดและกลับบ้านได้ไวที่สุด ลดระยะเวลารวมของ การบริการต่อลูกค้า 1 ราย

โดยสิ่งที่ QueQ จะเข้าไปช่วย คือ ปรับปรุงเปลี่ยน Flow การรอคิวในแต่ละจุดบริการ ตั่งแต่การลงทะเบียน การหาหมอ จ่ายเงิน จนถึงการรับยา ซึ่งเมื่อระยะเวลาการให้บริการต่อ 1 คนสั้นลง โรงพยาบาลก็จะสามารถให้บริการลูกค้าได้มากขึ้นในทรัพยากรที่เท่าเดิม ซึ่งวิธีการนี้แก้ไขแม้กระทั่งปัญหาที่จอดรถ เมื่อลูกค้าแต่ละคนได้กลับบ้านเร็ว ที่จอดรถของโรงพยาบาลก็จะมี Free Space ให้กับลูกค้า คนถัดไปได้มากขึ้น

จะเห็นได้ว่า แนวคิดการแก้ปัญหาลักษณะนี้หละ คือ การดำเนินการตามวิถีของ Startup Thailand นั่นก็คือ แก้ไขทีละปัญหาแล้วค่อย Amplify วิธีการไปแก้ไขปัญหาอื่นๆ ที่ใหญ่ขึ้น

Icon แก้ไขที่ละปัญหาแล้วค่อย amplify วิธีการไปแก้ไขปัญหาอื่นๆ ที่ใหญ่ขึ้น

คุณโจ้ให้ความเห็นกับ AIS The StartUp ไว้ว่า “ประเด็นเรื่องการขยายตลาดต่างประเทศเท่าที่เจอไม่มีสูตรตายตัว สำหรับ QueQ เป็นบริษัท Software จึงร่วมเป็น Business Partner กับ Advantech โดยมีรูปแบบความร่วมมือคือ QueQ จะดำเนินการเรื่อง Software ทั้งหมดและให้ Advantech เป็นผู้ดำเนินการด้าน Hardware และหาตลาดในต่างประเทศ ด้วยวิธีการนี้ QueQ จะสามารถขยายตลาดไปสู่ ต่างประเทศได้อย่างรวดเร็วขึ้น” เมื่อปีที่แล้ว QueQ และ Advantech ได้รับโอกาสจาก AIS เข้านำเสนอผลงานในงาน Product Innovation Fair 2016 กับกลุ่ม Operator ชั้นนำทั่วภูมิภาค และปัจจุบัน QueQ และ Advantech ได้ร่วมกันทดสอบระบบใน ตลาดอินโดนีเซีย และ สหรัฐอเมริกา

คุณโจ้นำประสบการณ์ต่างๆ มาถ่ายทอดให้กับรุ่นน้อง AIS The StartUp อย่างส่ำเสมอเพื่อให้น้องๆได้เรียนรู้และมีตัวอย่าง ในการดำเนินธุรกิจ สร้าง Community ที่อบอุ่นด้วยกัน หากคุณมีไอเดีย มีผลงานสามารถมาร่วมเป็นหนึ่งในครอบครัว AIS The StartUp โดยส่งผลงานเพื่อรับโอกาสเข้าร่วม Monthly Pitching ได้ที่ https://www.ais.th/thestartup/connect.html

บทความโดย ดร. ศรีหทัย พราหมณี
Head of AIS The StartUp