โอกาสที่มากขึ้น
ของ Startup ภูมิภาค
13 มิถุนายน 2560
" การสร้าง SOLUTION
ให้ตอบสนองปัญหาในแต่ละท้องถิ่น "

นับถอยหลังไปเมื่อ 5 ปีที่แล้ว คำว่า “Startup” ยังไม่ได้เป็นที่ รู้จักอย่างแพร่หลายนัก จนช่วงปี 2011-2012 ทาง AIS ได้เล็งเห็นถึง ความสำคัญของการสร้างนักรบทางเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Warrior : NEW) เพื่อเตรียมพร้อมก้าวเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ที่ Technology จะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของประเทศให้เดินหน้าแบบก้าวกระโดด และไปให้ทันกับการหมุนอันรวดเร็ว ของโลก AIS จึงนำ Startup Community เข้ามาในประเทศไทยเป็น ครั้งแรก และหลังจากนั้น Community ก็เติบโตและพัฒนามาเป็น Startup Ecosystem ที่มี Support Players มากมาย ทั้งจากสื่อ, Education Sector, หน่วยงานรัฐ หรือ หน่วยงานเอกชนจากหลาย ๆ อุตสาหกรรม เช่น Telco, Bank หรือ ล่าสุดก็เป็นกลุ่ม Property Developments ที่ ประกาศนโยบายส่งเสริม Property and Urban-Living Technology

แต่ความเข้มแข็งของ Ecosystem เหล่านี้ยังกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งจริง ๆ แล้วกรุงเทพฯ มีพื้นที่น้อยกว่า 1% ของ ประเทศไทยเสียอีก นั่นหมายความว่าเรายังมี Opportunity อีกมากมายที่จะกระจายความเข้มแข็งของ Local Ecosystem ให้ ทั่วประเทศไทยได้นั่นเอง

เสน่ห์ของการสร้าง Local Ecosystem ก็คือ ความท้าทายในการสร้าง Solution ให้ตอบสนองความหลากหลายของ ปัญหาที่มีในแต่ละท้องถิ่น ความแตกต่างของพฤติกรรมลูกค้าในแต่ละพื้นที่ และความไม่เหมือนในด้านวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค ซึ่ง Startup จากกรุงเทพฯ มีโอกาสน้อยมากที่จะสามารถเข้าใจถึงความแตกต่างที่หลากหลายในแต่ละพื้นที่ได้ หรือไม่ก็ต้องใช้เวลา นานในการศึกษาข้อมูลแต่ละ Cluster นี่จึงเป็นโอกาสทองของ Local Startup ที่มีแนวโน้มว่าสามารถสร้าง Innovation มาเพื่อ ตอบสนองความต้องการแฝงในท้องถิ่น (Local Hidden Needs) ได้มากกว่า Startup ในกรุงเทพฯ นั่นเอง

Challenge คือ Local Startup เหล่านั้น มีความสามารถ และความพร้อมในการแปลงปัญหาในท้องถิ่นมาเป็นโอกาส ที่อยู่ใกล้ตัวเองได้หรือไม่??

แม้ต่างจังหวัดจะมีโอกาสมากมายรออยู่ สำหรับผู้ที่กระโดดเข้ามาเล่นเรื่อง Startup แต่จำเป็นที่จะต้องตระหนักว่า Local Startup Ecosystem ยังไม่ Mature หลายครั้ง Local Companies ไม่สามารถเข้าถึง Fundamental Supports ได้ Ecosystem ในต่างจังหวัดในขณะนี้ก็จะเหมือนกับกรุงเทพฯ ในปี 2011-2012 ที่ยังมีความจำเป็นต้องสร้างกลไกการส่งเสริมนวัตกรรมท้องถิ่น (Local Innovation) คนที่มีความเชี่ยวชาญและมีความพร้อมจัดกิจกรรมบ่มเพาะยังต้องนำมาจากที่อื่น ๆ นั่นเอง

แต่ทั้งนี้ ก็มีสัญญาณที่ดี เริ่มต้นเมื่อปีที่แล้ว (ปี 2016) รัฐบาลเริ่มมีการส่งเสริมให้เกิดการกระตุ้น การรับรู้เรื่อง Startup ในต่างจังหวัดมากขึ้น โดยการจัดงาน Digital Thailand and Startup Thailand Regional Rise ขึ้น ที่เชียงใหม่ ขอนแก่น และ ภูเก็ต จนต่อเนื่องมาในปีนี้ (2017) Digital Economy Promotion Agency (DEPA) ภายใต้การกำกับดูแลของ Ministry of Digital Economy and Society ได้จัดโปรแกรม Digital Startup โดยการนำทั้งพี่เลี้ยง (Coach) และ คณะกรรมการไปให้ความรู้และ คัดเลือก Startup ถึงแต่ละภูมิภาคทั่วประเทศไทยรวมกว่า 500 ทีมเลยทีเดียว ในขณะเดียวกันทางด้าน National Innovation Agency (NIA) ก็มีโครงการ Startups in Residence (SiR) ที่เน้นในการให้ความรู้กับคนในพื้นที่เช่นกัน

อีกหนึ่งในปัจจัยของความสำเร็จในการสร้าง Local Ecosystem คือ การเกิดของ Physical Space เพื่อเป็นจุดนัดหมายในการ รวมตัว Community เข้าด้วยกัน ปัจจุบันนี้มี Co-Working Space ที่กระจายอยู่ตามหัวเมืองใหญ่ ๆ เช่น Jump Space ในขอนแก่น, Tuber ในหาดใหญ่, HATCH ที่ภูเก็ต และ Pun space ที่เชียงใหม่ เป็นต้น นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในทุกจังหวัดทำให้องค์ความรู้ ด้าน Startup สามารถเข้าถึงฐานนักศึกษาได้จำนวนมาก และ Digital Economy Promotion Agency (DEPA) ก็ได้จัดตั้ง โครงการ Tech StartUp Club เพื่อกระตุ้น สร้างการรับรู้ และ ให้ความรู้ด้านการเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่ขณะยังเป็นนักศึกษา

AIS The StartUp เองก็ให้ความสำคัญและสนับสนุนการสร้าง Local Ecosystem ให้เกิดมาตรฐานในการถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยได้ร่วมเป็นวิทยากรในโครงสร้างต่าง ๆ อาทิ SiR และร่วมเป็น คณะกรรมการคัด Startup ของ Digital StartUp อีกด้วย

ทั้งนี้ AIS The StartUp ยังเปิดโอกาสให้ Local Startup ส่งผลงานมาได้ตลอดเวลาผ่านช่องทาง Online ที่ www.ais.th/thestartup/connect เพื่อการสนับสนุนผู้ประกอบการไปยัง Local ได้ทั่วถึงตามนโยบาย Digital for Thais ของ AIS

บทความโดย ดร. ศรีหทัย พราหมณี
Head of AIS The StartUp