10 รูปแบบโมเดลธุรกิจในยุคออนไลน์ รู้ไว้ ใช้ต่อยอดธุรกิจ
15 ก.พ. 2562

ทุกวันนี้ “สตาร์ทอัพ” มักนำนวัตกรรมหรือการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยพัฒนา และยกระดับให้ธุรกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่นวัตกรรมที่ว่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องมากน้อยแค่ไหนในการช่วยผลักดันให้สตาร์ทอัพไปถึงจุดสำเร็จ ถ้าเข้าใจองค์ประกอบของธุรกิจจะเห็นว่ามี 2 จุดสำคัญ ที่นวัตกรรมมีส่วนในการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่แตกต่าง ได้แก่

แต่ก่อนจะพัฒนาทุกๆ ด้านของธุรกิจให้ครบถ้วน อันดับแรกต้องรู้ก่อนว่ารูปแบบโมเดลของธุรกิจในยุคออนไลน์สมัยนี้หลักๆ มีรูปแบบอะไรบ้าง

เป็นรูปแบบการสมัครสมาชิกเพื่อใช้งานผลิตภัณฑ์ หรือบริการและมีค่าใช้จ่ายเป็นรอบ ไม่ว่าจะรายเดือนหรือรายปี ตัวอย่างเช่น Netflix, Apple Music เป็นต้น

เป็นรูปแบบที่ผู้ใช้ทั่วไปสามารถใช้งานผลิตภัณฑ์ หรือบริการได้ฟรีแต่จะถูกจำกัดความสามารถในการใช้งานบางส่วน หากต้องการใช้งานเต็มความสามารถของผลิตภัณฑ์หรือบริการ จะต้องมีการจ่ายเงินก่อนซึ่งมีทั้งแบบจ่ายครั้งเดียว หรือจ่ายในรูปแบบของ Subscription เป็นรายเดือนหรือรายปี ตัวอย่างเช่น EverNote, Spotify เป็นต้น

เป็นรูปแบบที่ผู้ใช้ทุกคนใช้งานได้ฟรีเต็มความสามารถของผลิตภัณฑ์ หรือบริการ โดยปกติผลิตภัณฑ์ หรือบริการจะนำข้อมูลที่ผู้ใช้สร้างขึ้นมา นำไปสร้างรายได้ให้แก่บริษัทอีกต่อนึงตัวอย่างเช่น Google Search, Facebook, Twitter เป็นต้น

เป็นรูปแบบการทำตลาดดิจิทัลที่ให้คนขายนำของมาวางขายที่ตลาดและคนซื้อสามารถเข้ามาซื้อของในตลาดได้ แล้วตลาดก็จะทำการเก็บค่าธรรมเนียมในการซื้อขายนั้นๆตัวอย่าง เช่น ebay, Lazada, Kaidee เป็นต้น

เป็นรูปแบบที่นำสิ่งของต่างๆ เช่น บ้าน รถ หรือ ทรัพย์สิน อื่นๆ ไปให้บุคคลอื่นเช่า-ยืมใช้เป็นการชั่วคราวโดยแพลตฟอร์มที่ให้บริการแบบนี้จะมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมของแต่ละรายการ ตัวอย่างเช่น Airbnb เป็นต้น

เป็นรูปแบบที่ให้บริการผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นๆ โดยมีอำนาจในตลาดนี้สูงมาก หรือมีลูกค้าในตลาดนี้จำนวนมาก จนสามารถกำหนดทิศทางของตลาดเหนือกว่าคู่แข่งรายอื่นๆ แต่ก็มีบ่อยครั้งที่บริษัทจะใช้กลยุทย์ที่ทำการขายสินค้าราคาต่ำกว่าราคาตลาด เพื่อแย่งลูกค้าจากคู่แข่ง เมื่อควบคุมตลาดได้แล้วจะทำให้ต้นทุนลดต่ำลงอย่างมาก ตัวอย่างบริษัทในกลุ่มนี้ เช่น Amazon เป็นต้น

เป็นรูปแบบที่ให้ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการ ได้รับประสบการณ์ที่เหนือกว่า ผลิตภัณฑ์ หรือบริการรายอื่นๆ อย่างชัดเจน จนทำให้มีกลุ่มของบุคคลที่ต้องการใช้และยึดติดกับผลิตภัณฑ์หรือบริการนี้ ตัวอย่างเช่น Tesla, Apple เป็นต้น

เป็นรูปแบบที่ธุรกิจออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือบริการ จะสรรหาและคัดเลือกผู้ค้ารายย่อย (Re-sellers) หรือ บริษัทในเครือ (Affiliates) เพื่อมาทำการขายผลิตภัณฑ์ หรือบริการนี้ โดยจะมีการจ่ายเป็นส่วนแบ่งเปอร์เซ็น (Commission) ให้ ตัวอย่าง เช่น Microsoft, Amazon เป็นต้น

เป็นรูปแบบของผู้ที่ขายผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น จะได้เงินส่วนแบ่งเปอร์เซ็น (Commission) เพิ่มเติมพิเศษจากผู้ใช้บริการ นอกจากการจ่ายค่าใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการตามปกติ เพื่อให้ได้เวลาที่เร็วกว่า หรือบริการที่ดีกว่าปกติตัวอย่างเช่น TaskRabbit เป็นต้น

เป็นรูปแบบของผู้ที่ขายผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น ทำให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์จากการใช้งานยิ่งขึ้น หากมีการใช้งานเป็นกลุ่มของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ตัวอย่างเช่น Google, Apple เป็นต้น

สุดท้ายนี้การได้มาซึ่งไอเดียสุดบรรเจิดเพื่อสร้างหรือปรับเปลี่ยนธุรกิจสตาร์ทอัพได้ ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลายส่วนเข้าด้วยกัน แต่สิ่งที่สำคัญพอๆ กับโมเดลธุรกิจออนไลน์ที่ว่ามานี้ คือการเริ่มลงมือทำทดลองให้เกิดผลลัพธ์สูงสุด และไม่หยุดอยู่กับที่...

บทความโดย
AIS The StartUp